อบรมพิเศษเรื่อง E-Thesis & E-Rare book ณ หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1/9/54
E-Thesis
สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มจัดทำ E-Thesis ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2546 โดยแต่เดิมบรรณารักษ์จะจัดทำจากการนำวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัยที่ส่งตัวเล่มให้แก่บรรณารักษ์ห้องสมุดเพื่อนำมา Digitize แล้วทำการตัดสันตัวเล่มและทำการแสกนให้เป็นรูปแบบ PDF files และจัดทำลายน้ำเพื่อป้องกันการคัดลอก จากนั้นจึงทำการ upload ไปยังฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) ของสำนักหอสมุด
ปัจจุบันบัณฑิตวิทยาลัยเปลี่ยนจากการส่งตัวเล่มวิทยานิพนธ์เป็นการไรท์ข้อมูลวิทยานิพนธ์ทั้งหมดลงในแผ่น CD หรือ DVD แล้วจึงส่งให้บรรณารักษ์จัดทำ จากนั้นบรรณารักษ์จะจัดทำลายน้ำ แล้วทำการ rename files ใหม่เพื่อป้องกันไฟล์ซ้ำซ้อน แล้วจึง upload ลงฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ต่อไป
วิธีการจัดทำ (ตัวเล่ม)
1. ทำการแสกนตัวเล่มทั้งหมดทุกหน้า ซึ่งมี 2 แบบ คือ
- แบบขาวดำ
- แบบสี
*** แบบขาวดำ มีข้อเสียตรงที่พอแสกนออกมาแล้วภาพไม่ค่อยชัดเท่าภาพสี ปัจจุบันจึงเปลี่ยนมาใช้การแสกนภาพสีแทนขาวดำ
2. ก่อนทำการแสกนต้องกำหนดขนาดของหนังสือที่จะแสกนก่อน
3. ตั้งชื่อ sheet file
4. กำหนดตำแหน่งเก็บไฟล์ จากนั้นเริ่มทำการแสกน
5. แสกนเสร็จแล้วมาดูไฟล์ภาพที่ได้จากการแสกนในเครื่องคอมฯที่ได้กำหนดไว้ เป็น pdf files
6. กำหนดลายน้ำ (ทำทุกหน้า)
7. ทำบรรณานุกรม เสร็จแล้วตั้งชื่อไฟล์ตามสาขาวิชา ดังนี้
ชื่อสาขาวิชา เดือน ปีที่ทำ ชื่อผู้ทำ --------> acc1147ns
acc -----> สาขาวิชาการบัญชี
11 ------> เดือนพฤศจิกายน
47 ------> ปี 2547
ns ------> ชื่อ
8. Upload ลงฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis)
E-Rare book
การจัดทำ E-Rare book จะต้องมีการพิจารณาหนังสือที่จะนำมาทำก่อนทำการเผยแพร่ โดยจะพิจารณาจาก
- หนังสือนั้นจะต้องมีอายุ 50 ปีขึ้นไป หลังจากเจ้าของ หรือผู้แต่งเสียชีวิต โดยที่ต้องไม่มีใครเป็นเจ้าของ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ และหากหนังสือเล่มดังกล่าวยังไม่หมดลิขสิทธิ์ ก่อนจะนำหนังสือเล่มดังกล่าวมาจัดทำต้องทำการของอนุญาตเจ้าของผลงาน
- หนังสือนั้นจะต้องมีความเก่ามาก โดยอาจมีอายุถึง 100 ปีขึ้นไป หากหนังสือไม่สามารถเปิดได้ หรือชำรุด และเสี่ยงต่อการฉีกขาดจะไม่นำมาแสกน แต่จะทำโดยการถายรูปแทน และหากหนังสือนั้นมีปลวก มอด หรือมีเชื้อราจะต้องนำไปเข้ากระบวนการอนุรักษ์ก่อน โดยการนำเข้าห้องเย็นยิ่งยวดที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศา เพื่อทำการฆ่าเชื้อ โดยใช้สารเคมี เป็นเวลา 1 คืน รมสารอีก 1 คืน และนำออกมาพักเพื่อให้สารเคมีจางหายไปอีก 1 อาทิตย์
- จากนั้นจึงนำไปแสกน และตกแต่งรูปภาพในอยู่ในสภาพสมบูรณ์
- ในการจัดทำ จะใช้โปรแกรม Desktop Author เพราะมีราคาถูก maintain ง่าย ใช้งานง่าย และมีฟังก์ชั่นที่หลากหลาย สามารถชี้แหล่งข้อมูลได้ และ Link ไปยังฐานข้อมูล OPACได้ ทำให้ง่ายต่อการค้นหา
วิธีการทำ E-Rare book
1. หลังจากได้ภาพที่แสกนมาแล้วจึงนำไฟล์ภาพที่แสกนได้ไปจัดทำในโปรแกรม Desktop Author
2. เปิดโปรแกรม Desktop Author ขึ้นมาแล้วกำหนดขขนาดหนังสือ W980 H780
*** สามารถกำหนดขนาดอื่นๆได้ตามขนาดหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่แสดงผล และสามารถกำหนดไม่ให้ทำการ copy หรือทำการ printได้
3. ควรกำหนดขนาดภาพให้ตรงกับขนาดที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อความรวดเร็วในการจัดหน้าหนังสือ
4. เมื่อเสร็จแล้วจะทำการ Package files (save) มีสองสกุล คือ
- .EXE ไฟล์สกุลนี้จะมีความสะดวกในการเปิดใช้งาน
- .DNL ไฟล์สกุลนี้ผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรมสำหรับเปิดไฟล์ชนิดนี้โดยเฉพาะ มิเช่นนั้นจะไม่สามารถเปิดอ่านไฟล์ดังกล่าวได้
5. ทำรายการ MARC ลง INOPAC แล้ว Upload ไปยังฐานข้อมูล E-Rare book
นอกจากฐานข้อมูลที่กล่าวมาแล้วทางสำนักหอสมุดยังได้จัดทไฐานข้อมูลเฉพาะ ฐานข้อมูลเอกสารโบราณ ได้แก่ ปัปสา ใบลาน และสมุดข่อย ซึ่งทั้งหมดจะใช้ Element ของ Dublin Core เป็นหลัก
สรุป
ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำ
E-Rare book
- จะมีปัญหาที่ต้นฉบับ เนื่องจากต้นฉบับไม่มีความสมบูรณ์ เนื่องจากการฉีกขาด หรือเสียหาย ทำให้การแสกนไม่ดีเท่าที่ควร และใช้เวลานาน หนังสือ 1เล่ม/1วัน
E-Thesis
- แต่เดิมการจัดทำจะต้องเอาตัวเล่มมาตัด แล้วจึงทำการแสกน ทำให้หระดาษติดเครื่องในบางครั้ง
- ปัจจุบัน นักศึกษา จะส่งข้อมูลตัวเล่ม กับข้อมูลในแผ่น CD โดยมักจะมีปัยหาเกิดขึ้นว่าข้อมูลใน CD ไม่ตรงกับตัวเล่ม จึงต้องส่งกลับไปให้นักศึกษาแก้ไขใหม่
- หากไม่สามารถตามตัวนักศึกษาคนดังกล่าวได้ บรรณารักษ์จะตัดสันตัวเล่มออก แล้วทำการแสกนแทน
***ขอขอบคุณพี่ๆบรรณรักษ์ที่ให้ความรู้และข้อมูลในการจัดทำ จบจากการอบรมแล้วได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นมากมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น