วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภารกิจในการเข้าถึงเอกสารแบบเปิด:ระดับมหาวิทยาลัยและแหล่งทุน

สรุปการเรียนการสอนเรื่อง ภารกิจในการเข้าถึงเอกสารแบบเปิด:ระดับมหาวิทยาลัยและแหล่งทุน ประจำวันจันทร์ ที่ 4 ก.ค. 54

          การเข้าถึงบทความที่เป็นเอกสาร OA ผู้อ่านสามารถเข้าถึงบทความได้ในรูปแบบดิจิทัลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งภารกิจในการทำคลังเอกสารนี้เกิดจากการลงมติของสถาบันการวิจัย และฝ่ายงานวิชาการของมหาวิทยาลัยที่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำคลังเอกสาร ทั้งนี้หน่วยงานที่มีสำคัญในการออกภารกิจการจัดทำเอกสาร OA ได้แก่ มหาวิทยาลัย กรมหน่วยงานของรัฐบาล และองค์กรต่างๆซึ่งมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลกได้มีการออกภารกิจการจัดทำเอกสาร OA ขึ้นรวมทั้งหมด 146 แห่ง เป็นหน่วยงาน รัฐบาลจำนวน 30 หน่วยงาน องค์กรผู้ให้ทุนอื่นๆ 46 แห่ง และองค์กรการวิจัย 75 แห่ง รวมทั้งสิ้น 276 แห่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยที่มีการจัดทำคลังเอกสาร OA และออกภารกิจการจัดทำเอกสาร OA แห่งแรก คือ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด

ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ของมหาวิทยาลัย
       เนื่องจากการจัดทำเอกสาร OA เป็นการเปิดความคิด เปิดทัศนะคติ และยังช่วยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ดังนั้นมหาลัยหลายๆแห่งจึงมีการกำหนดนโยบายในการจัดทำเอกสาร OA ขึ้นเพื่อให้การจัดทำเอกสาร OA มีมาตรฐานและมีคุณภาพ โดยองค์กรที่มีหารกำหนดภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA มีทั้งสิ้น 264 องค์กร (Roarmap, 2010) แบ่งเป็นมหาวิทยาลัย 208 แห่ง ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างภารกิจของมหาวิทยาลัย Harvard University ให้ได้ทราบข้อมูลพอสังเขป

Harvard University




             เป็นสถาบันแห่งแรกของสหรัฐอเมริกาที่ได้นำเอกสาร OA มาใช้ ซึ่งคณะที่ริเริ่มทำเอกสาร OA คือ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยมีการจัดตั้งคณะผู้ดำเนินงานและวางแผนโครงการว่าจะใช้อินเทอร์เน็ตในการเผยแพร่เอกสาร OA ซึ่งการนำงานของผู้เขียนมาจัดทำเป็นเอกสารเปิดสารธารณะที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้น ผู้เขียนจะต้องนำผลงานของตนมาทำเป็นวารสารแบบเสรี ซึ่งผู้เขียนเองก็มีความคาดหวังว่าบทความของตนจะถูกนำไปดัดแปลงหรือต่อยอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้ ซึ่งการจัดทำเอกสาร OA นั้นทางมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดคาดหวังว่าจะทำให้การค้นคว้าวิจัยมีขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น



ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีทั้งหมด 9 ข้อดังนี้

     1. กำหนดให้คณะต่างๆในมหาวิทยาลัยจัดทำเอกสาร OA โดยใช้สัญญาอนุญาตและใช้ครีเอทีฟคอมมอนเป็นสัญลักษณ์ผู้สร้างสรรค์ผลงาน
     2. เอกสารหรือ ผลงานที่นำมาจัดทำเป็นเอกสาร OA จะไม่สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อหวังผลกำไรได้ เนื่องจากบทความทุกบทความมีสัญญาอนุญาตของผู้แต่ง หรือเจ้าของผลงานนั้น
     3. มีการจัดทำคลังจัดเก็บเอกสารที่บุคคลทั่วไปสามารถสืบค้น และเข้าใช้ได้
     4. เจ้าของผลงานหรือนักวิจัยสามารถส่งสำเนาให้กับทางคณะได้โดยตรง จากนั้นทางคณะจะนำเอกสาร หรือผลงานไปจัดทำให้เอกสารฉบับนั้นเป็นเอกสาร OA
     5. เอกสารที่เป็นเอกสาร OA จะผ่านการรับรองโดย Faculty of Art and Science - FAS
     6. เอกสารหรือผลงานทางวิชาการต่างๆ ทางคระจะทำการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการเผยแพร่ โดยเอกสารบางอย่างอาจถูกคัดออก เนื่องจากความไม่เหมาะสมในบางประการ
     7. เมื่อเจ้าของผลงานมีความต้องการที่จะเผยแพร่เอกสาร ทางคณะสามารถนำบทความหรือผลงานทางวิชาการ ไปเผยแพร่ยังวารสารที่เจ้าของผลงานต้องการนำผลงานของตนไปเผยแพร่ได้ นอกจากนั้นยังให้การรับรองในการรักษาสิทธิของเจ้าของผลงาน
     8. เมื่อนำผลงานทางวิชาการมาเผยแพร่เป็นเอกสาร OA แล้วทางคณะจะทำการรักษาสัญญาอนุญาต หรือสิทธิให้เจ้าของผลงานโดยไม่มีการกำหนดระยะเวลา
     9. เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับผลงานต่างๆ ในด้านสิทธิของเจ้าของผลงานสามารถมาทำคำร้องที่มหาวิทยาลัยได้ และทางคณบดีของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จะจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ (Eastman, G., 2008)

ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ขององค์กรผู้ให้ทุน

     องกรณ์ผู้ให้ทุนเป็นองค์กรที่มีความสำคัญต่อการจัดทำเอกสาร OA เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นผู้สนับสนุน และให้ทุนแก่ผู้ทำวิจัย หรือต้องการมีผลงานทางวิชาการ โดยในการให้ทุนนั้น ในปัจจุบันผู้ให้ทุนจะมีการจัดทำนโยบายในการจัดทำเอกสาร OA เช่นกันเพื่อกำหนดเงื่อนไข และข้อกำหนดในการให้ทุน ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างองค์กรผู้ให้ทุน Wellcome trust โดยมีรายละเอียดดังนี้

Wellcome trust

     เป็นองค์กรเอกชนที่ให้การสนับสนุนและให้เงินทุนในการจัดทำเอกสาร OA ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรผู้ให้ทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษ ที่ให้ทุนสำหรับงานวิจัยทางด้านการแพทย์ โดยการจัดทำเอกสาร OA นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเผลแพร่งานวิจัย ตามพันธกิจขององค์กร ที่จะช่วยให้เกิดผู้เชียวชาญการวิจัยทางด้านการแพทย์และชีววิทยา ผลงานวิจัยนี้เป็นความคิด และความรู้ใหม่ที่มีความน่าเชื่อถือและได้รับการตรวจสอบจากนักวิชาการแล้ว ทั้งนี้ ทาง Wellcome trust จะเปิดรับเฉพาะเอกสารทางด้านการวิจัย หรืองานวิจัยเท่านั้น โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลการวิจัยได้จากฐานข้อมูล PMC ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทางด้านการแพทย์ที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับในสากล (Wellcome trust, n.d.)

ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ของ Wellcome trust มีรายละเอียดดังนี้
     1. ผู้ที่ได้รับทุนการทำวิจัยจะต้องนำผลงานการวิจัยกลับมาให้ทาง Wellcome trust เผยแพร่เผ็นเอกสาร OA
     2. บทความของผู้รับทุนจะถูกเผยแพร่ในฐานข้อมูล PMC และ UK PunMed Central (UK PMC) การทำเอกสารต้นฉบับต้องอยู่ในรูปแบบดิจิทัลและให้ Wellcome trust ตรวจสอบก่อน และจะนำไปเผยแพร่ยังฐานข้อมูลที่กล่าวมาภายในเวลา 6 เดือน หลังจากเจ้าของผลงานส่งผลงานฉบับสมบูรณ์ (postprint) กลับมา
     3. ผู้ขอรับทุนสามารถขอรับทุนเพิ่มเติมได้ โดยทาง Wellcome trust จะให้เงินทุนเพิ่มเติมผ่านสถาบันของผู้รับทุน เพื่อประโยชน์ต่อการแสวงหาความรู้อันจะนำมาซึ่งความรู้ที่มีคุณภาพ และก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือของสถาบัน
     4. การเผยแพร่ข้อมูลจะเป็นการเผยแพร่เอกสารฉบับเต็มที่ผู้ใช้สามารถคัดลอกได้อย่างอิสระภายใต้สัญญาอนุญาต ซึ่งจะต้องมีการอ้างถึงเมื่อนำบทความหรือข้อมูลทางวิชาการไปใช้
     5. หากผลงานที่ผู้รับทุนนำมาฝากเป็นผลงานที่มีคุณภาพ และมีผู้อ้างถึงมาก ทางองค์กรจะมีการพิจารณาให้ทุนแก่เจ้าของผลงานคนดังกล่าวในคราวต่อไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น