อบรมพิเศษเรื่อง E-Thesis & E-Rare book ณ หอสมุดกลางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1/9/54
E-Thesis
สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มจัดทำ E-Thesis ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2546 โดยแต่เดิมบรรณารักษ์จะจัดทำจากการนำวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัยที่ส่งตัวเล่มให้แก่บรรณารักษ์ห้องสมุดเพื่อนำมา Digitize แล้วทำการตัดสันตัวเล่มและทำการแสกนให้เป็นรูปแบบ PDF files และจัดทำลายน้ำเพื่อป้องกันการคัดลอก จากนั้นจึงทำการ upload ไปยังฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) ของสำนักหอสมุด
ปัจจุบันบัณฑิตวิทยาลัยเปลี่ยนจากการส่งตัวเล่มวิทยานิพนธ์เป็นการไรท์ข้อมูลวิทยานิพนธ์ทั้งหมดลงในแผ่น CD หรือ DVD แล้วจึงส่งให้บรรณารักษ์จัดทำ จากนั้นบรรณารักษ์จะจัดทำลายน้ำ แล้วทำการ rename files ใหม่เพื่อป้องกันไฟล์ซ้ำซ้อน แล้วจึง upload ลงฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ต่อไป
วิธีการจัดทำ (ตัวเล่ม)
1. ทำการแสกนตัวเล่มทั้งหมดทุกหน้า ซึ่งมี 2 แบบ คือ
- แบบขาวดำ
- แบบสี
*** แบบขาวดำ มีข้อเสียตรงที่พอแสกนออกมาแล้วภาพไม่ค่อยชัดเท่าภาพสี ปัจจุบันจึงเปลี่ยนมาใช้การแสกนภาพสีแทนขาวดำ
2. ก่อนทำการแสกนต้องกำหนดขนาดของหนังสือที่จะแสกนก่อน
3. ตั้งชื่อ sheet file
4. กำหนดตำแหน่งเก็บไฟล์ จากนั้นเริ่มทำการแสกน
5. แสกนเสร็จแล้วมาดูไฟล์ภาพที่ได้จากการแสกนในเครื่องคอมฯที่ได้กำหนดไว้ เป็น pdf files
6. กำหนดลายน้ำ (ทำทุกหน้า)
7. ทำบรรณานุกรม เสร็จแล้วตั้งชื่อไฟล์ตามสาขาวิชา ดังนี้
ชื่อสาขาวิชา เดือน ปีที่ทำ ชื่อผู้ทำ --------> acc1147ns
acc -----> สาขาวิชาการบัญชี
11 ------> เดือนพฤศจิกายน
47 ------> ปี 2547
ns ------> ชื่อ
8. Upload ลงฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis)
E-Rare book
การจัดทำ E-Rare book จะต้องมีการพิจารณาหนังสือที่จะนำมาทำก่อนทำการเผยแพร่ โดยจะพิจารณาจาก
- หนังสือนั้นจะต้องมีอายุ 50 ปีขึ้นไป หลังจากเจ้าของ หรือผู้แต่งเสียชีวิต โดยที่ต้องไม่มีใครเป็นเจ้าของ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์ และหากหนังสือเล่มดังกล่าวยังไม่หมดลิขสิทธิ์ ก่อนจะนำหนังสือเล่มดังกล่าวมาจัดทำต้องทำการของอนุญาตเจ้าของผลงาน
- หนังสือนั้นจะต้องมีความเก่ามาก โดยอาจมีอายุถึง 100 ปีขึ้นไป หากหนังสือไม่สามารถเปิดได้ หรือชำรุด และเสี่ยงต่อการฉีกขาดจะไม่นำมาแสกน แต่จะทำโดยการถายรูปแทน และหากหนังสือนั้นมีปลวก มอด หรือมีเชื้อราจะต้องนำไปเข้ากระบวนการอนุรักษ์ก่อน โดยการนำเข้าห้องเย็นยิ่งยวดที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศา เพื่อทำการฆ่าเชื้อ โดยใช้สารเคมี เป็นเวลา 1 คืน รมสารอีก 1 คืน และนำออกมาพักเพื่อให้สารเคมีจางหายไปอีก 1 อาทิตย์
- จากนั้นจึงนำไปแสกน และตกแต่งรูปภาพในอยู่ในสภาพสมบูรณ์
- ในการจัดทำ จะใช้โปรแกรม Desktop Author เพราะมีราคาถูก maintain ง่าย ใช้งานง่าย และมีฟังก์ชั่นที่หลากหลาย สามารถชี้แหล่งข้อมูลได้ และ Link ไปยังฐานข้อมูล OPACได้ ทำให้ง่ายต่อการค้นหา
วิธีการทำ E-Rare book
1. หลังจากได้ภาพที่แสกนมาแล้วจึงนำไฟล์ภาพที่แสกนได้ไปจัดทำในโปรแกรม Desktop Author
2. เปิดโปรแกรม Desktop Author ขึ้นมาแล้วกำหนดขขนาดหนังสือ W980 H780
*** สามารถกำหนดขนาดอื่นๆได้ตามขนาดหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่แสดงผล และสามารถกำหนดไม่ให้ทำการ copy หรือทำการ printได้
3. ควรกำหนดขนาดภาพให้ตรงกับขนาดที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อความรวดเร็วในการจัดหน้าหนังสือ
4. เมื่อเสร็จแล้วจะทำการ Package files (save) มีสองสกุล คือ
- .EXE ไฟล์สกุลนี้จะมีความสะดวกในการเปิดใช้งาน
- .DNL ไฟล์สกุลนี้ผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรมสำหรับเปิดไฟล์ชนิดนี้โดยเฉพาะ มิเช่นนั้นจะไม่สามารถเปิดอ่านไฟล์ดังกล่าวได้
5. ทำรายการ MARC ลง INOPAC แล้ว Upload ไปยังฐานข้อมูล E-Rare book
นอกจากฐานข้อมูลที่กล่าวมาแล้วทางสำนักหอสมุดยังได้จัดทไฐานข้อมูลเฉพาะ ฐานข้อมูลเอกสารโบราณ ได้แก่ ปัปสา ใบลาน และสมุดข่อย ซึ่งทั้งหมดจะใช้ Element ของ Dublin Core เป็นหลัก
สรุป
ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำ
E-Rare book
- จะมีปัญหาที่ต้นฉบับ เนื่องจากต้นฉบับไม่มีความสมบูรณ์ เนื่องจากการฉีกขาด หรือเสียหาย ทำให้การแสกนไม่ดีเท่าที่ควร และใช้เวลานาน หนังสือ 1เล่ม/1วัน
E-Thesis
- แต่เดิมการจัดทำจะต้องเอาตัวเล่มมาตัด แล้วจึงทำการแสกน ทำให้หระดาษติดเครื่องในบางครั้ง
- ปัจจุบัน นักศึกษา จะส่งข้อมูลตัวเล่ม กับข้อมูลในแผ่น CD โดยมักจะมีปัยหาเกิดขึ้นว่าข้อมูลใน CD ไม่ตรงกับตัวเล่ม จึงต้องส่งกลับไปให้นักศึกษาแก้ไขใหม่
- หากไม่สามารถตามตัวนักศึกษาคนดังกล่าวได้ บรรณารักษ์จะตัดสันตัวเล่มออก แล้วทำการแสกนแทน
***ขอขอบคุณพี่ๆบรรณรักษ์ที่ให้ความรู้และข้อมูลในการจัดทำ จบจากการอบรมแล้วได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นมากมาย
บล็อกนี้เป็นบล็อกที่ใช้ในการเรียนการสอนและบันทึกการเรียนในกระบวนวิชา 009304 E-publishing ของนักศึกษา สาขาสารสนเทศศึกษา ชั้นปีที่3 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
E-Book And Library (ต่อ)
สรุปการเรียนการสอนเรื่อง E-Book And Library ประจำวันพฤหัสบดี ที่14 ก.ค. 54
การเข้าถึง (Access)
1. Offline (downloadable use)
คือ สามารถดาวน์โหลดไปอ่านในเครื่องเองโดยไม่ต้องออนไลน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นิยมใช้เป็น โหมด Offline โดยที่ผู้ใช้ต้องทำดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แล้วจึงถ่ายโอนมาที่เครื่องอ่าน e-readers เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว หรือ personal digital assistants (PDA) Palm
Electronic Text Centre ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเสนอให้มีการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ HTML ซึ่งสามารถอ่านในโหมดออนไลน์ได้
2. Online (Web-accessible use)
คือ สามารถ อ่าน หรือฟังได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ และในที่นี้จะต้องมีซอฟแวร์ที่ใช้ในการอ่านเช่นเดียวกันกับการอ่านแบบออฟไลน์ ซึ่งสามารถอ่านผ่านเครือข่าย โดยใช้โปรแกรมอ่าน เช่น Adobe Reader, Microsoft Reader และ Web browsers
Implementation of E Book - Hawkins
1. Downloadable e books
2. Dedicated e-book readers
3. Web accessible e books
1. Downloadable e books
- Proprietary (กรรมสิทธิ์)
มีกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของ ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดหนังสือมาอ่านได้เองโดยมีโปรแกรมเฉพาะสำหรับอ่าน หรือพิมพ์ เปิดให้ดาวน์โหลดเป็นสาธารณะ
- Non proprietary (ไม่มีกรรมสิทธิ์)
เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในรูปแบข ASCII text หรือ HTML สามารถอ่านได้โดยการใช้เว็บ Browser download to HD เช่น Project Gutenberg, Internet Public Library
http://www.overdrive.com/products/dlr/demos/salesdemo.htm
2. Decicated e-book readers
ต้องมีค่าดูแลรักษา และงบประมาณเพิ่มขึ้นมีการกำหนดควบคุมสำหรับการพิมพ์ และการทำสำเนา ใช้ได้ครั้งละ 1 คน
- Barn & Noble Google
สิทธิในการให้ยืม จำกัด ต้องซื้อใหม่เมื่อครบกำหนด
3. Web accessible e books
เป็นหนังสือที่สามารถเปิดอ่านได้ทันที ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการบริการโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย หรือห้องสมุดจะสามารถจัดการให้ได้ โดยสามารถเปิดอ่านบนเว็บได้ มีทั้ง proprietary และ circulation e books ห้องสมุดไม่ต้องทำการลงรายการ ยืม คืน ผู้ใช้สามารถอ่านได้ทั้งรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ สามารถทำสำเนา หรือสั่งพิมพ์ได้ และใช้คอมพิวเตอร์ในการอ่าน
NetLibrary Questia
NetLibrary
- perpetuity price
- Annual renewal price = 15% of list price
ผลปรากฎว่า
การเข้าถึง (Access)
1. Offline (downloadable use)
คือ สามารถดาวน์โหลดไปอ่านในเครื่องเองโดยไม่ต้องออนไลน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นิยมใช้เป็น โหมด Offline โดยที่ผู้ใช้ต้องทำดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แล้วจึงถ่ายโอนมาที่เครื่องอ่าน e-readers เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว หรือ personal digital assistants (PDA) Palm
Electronic Text Centre ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเสนอให้มีการจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ HTML ซึ่งสามารถอ่านในโหมดออนไลน์ได้
2. Online (Web-accessible use)
คือ สามารถ อ่าน หรือฟังได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ และในที่นี้จะต้องมีซอฟแวร์ที่ใช้ในการอ่านเช่นเดียวกันกับการอ่านแบบออฟไลน์ ซึ่งสามารถอ่านผ่านเครือข่าย โดยใช้โปรแกรมอ่าน เช่น Adobe Reader, Microsoft Reader และ Web browsers
Implementation of E Book - Hawkins
1. Downloadable e books
2. Dedicated e-book readers
3. Web accessible e books
1. Downloadable e books
- Proprietary (กรรมสิทธิ์)
มีกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของ ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดหนังสือมาอ่านได้เองโดยมีโปรแกรมเฉพาะสำหรับอ่าน หรือพิมพ์ เปิดให้ดาวน์โหลดเป็นสาธารณะ
- Non proprietary (ไม่มีกรรมสิทธิ์)
เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในรูปแบข ASCII text หรือ HTML สามารถอ่านได้โดยการใช้เว็บ Browser download to HD เช่น Project Gutenberg, Internet Public Library
http://www.overdrive.com/products/dlr/demos/salesdemo.htm
2. Decicated e-book readers
หนังสือพวกนี้จะเปิดอ่านบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ ต้องเอาไปเปิดอ่านในเครื่องอ่านเท่านั้น
- Amazon Kindle
ต้องมีค่าดูแลรักษา และงบประมาณเพิ่มขึ้นมีการกำหนดควบคุมสำหรับการพิมพ์ และการทำสำเนา ใช้ได้ครั้งละ 1 คน
- Barn & Noble Google
สิทธิในการให้ยืม จำกัด ต้องซื้อใหม่เมื่อครบกำหนด
3. Web accessible e books
เป็นหนังสือที่สามารถเปิดอ่านได้ทันที ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการบริการโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย หรือห้องสมุดจะสามารถจัดการให้ได้ โดยสามารถเปิดอ่านบนเว็บได้ มีทั้ง proprietary และ circulation e books ห้องสมุดไม่ต้องทำการลงรายการ ยืม คืน ผู้ใช้สามารถอ่านได้ทั้งรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ สามารถทำสำเนา หรือสั่งพิมพ์ได้ และใช้คอมพิวเตอร์ในการอ่าน
NetLibrary Questia
NetLibrary
- perpetuity price
- Annual renewal price = 15% of list price
E-Books at Yale : 2005-2009
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของYale มีการเพิ่มขึ้นมากกว่า 110% ภายใน 4 ปี
Mobile Access to E-Books at Yale
มีอุปกรณ์ 4 อย่างที่ใช้ในการสำรวจ คือ
1. Amazon Kindle 2.0
2. Sony Reader PRS-500
3. iRex iLiad 2nd edition
4. Apple iPod Touch
ผลปรากฎว่า
Apple iPod Touch สามารถเข้าถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของYale ได้ถึง 84%
และ Amazon Kindle 2.0, Sony Reader PRS-500, iRex iLiad 2nd edition สามารถเข้าถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของYale ได้ 24%
วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
Electronic Book (ต่อ)
สรุปการเรียนการสอนเรื่อง Electronic Book ประจำวันจันทร์ ที่ 11 ก.ค. 54
Solution for e-book piracy (วิธีแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ e-book)
ในหลายบริษัทมีการใช้รูปแบบไฟล์ที่เฉพาะเจาะจงกับcode หรือรหัส e-book ของพวกเขา ซึ่งเรียกว่า DRM ย่อมาจาก digital rights management หมายถึง การจัดการลิขสิทธิ์ดิจิตอล ตัวอย่าง เช่น Amazon มีการป้องกัน e-book ของพวกเขาโดยการวางไว้ในรูปแบบ AZW format ดังนั้นพวกเขาจึงไม่สามารถอ่านได้ใน e-readers อื่น ๆนอกจากอ่านใน Kindle เท่านั้น
Can DRM be cracked?
DRM สามารถทำการ cracked ได้ เช่นเดียวกับข้อจำกัดของไฟล์ชนิดอื่นๆ กับซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์และมีความคงทนซึ่งเกือบทุกอย่างสามารถทำการ cracked ได้
ข้อด้อยของ e-book
1. ต้องมีเครื่องอ่าน
e - book ต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น อุปกรณ์ต่อพ่วงและซอฟต์แวร์ที่สามารถเข้ากันได้เพื่อใช้ในการแสดงผล
2. อ่านได้เฉพาะเครื่องอ่าน
ในขณะที่ e - book จำเป้นต้องใช้อุปกรณ์พ่อพ่วงเพื่อให้สามารถอ่านได้ ดังนั้นมันจึงสามารถรับผลกระทบจากความผิดพลาดจากภายนอกฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ล้มเหลว เป็นต้น
3. ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า
อุปกรณ์ของ e - book ทั้งหมดต้องใช้พลังงานไฟฟ้า
4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์บางเล่ม (ไฟล์)อาจไม่สามารถใช้กับเครื่องรุ่นใหม่ได้
เนื่องจาก e - book บางรุ่นอาจจะล้าสมัยหรือตกรุ่นไปแล้วจึงทำให้ไม่สามารถเข้ากันกับอุปกรณ์ที่ใหม่กว่าได้
5. หายง่าย
ผู้อ่านหนังสือมีแนวโน้มที่จะถูกขโมย e-book มากกว่าหนังสือที่เป็นกระดาษ
6. เปราะบางเสียหายง่าย
เนื่องจากไฟล์อิเล็กทรอนิกส์จะสามารถถูก Hack และ Crack ได้ง่าย
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มี 3 ประเภท ได้แก่
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดแรกจะอยู่ในพื้นฐานรูปแบบของกระดาษสิ่งพิมพ์และจากนั้นจึงได้เปลี่ยนเป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Gutenberg Project และศูนย์ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic text Center) ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย
2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทที่สองได้แปลงข้อมูลดิจิทัลในอยู่รูปแบบซีดี และเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบ
HTML ที่สามารถเข้ากันได้ เช่นสารานุกรม Americana (http://ea.grolier.com/ea- online/static/search.htm)
3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทสุดท้ายเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นระบบดิจิตอลตั้งแต่ต้น หรือ
เรียกอีกอย่างว่า Born Digital
Solution for e-book piracy (วิธีแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ e-book)
ในหลายบริษัทมีการใช้รูปแบบไฟล์ที่เฉพาะเจาะจงกับcode หรือรหัส e-book ของพวกเขา ซึ่งเรียกว่า DRM ย่อมาจาก digital rights management หมายถึง การจัดการลิขสิทธิ์ดิจิตอล ตัวอย่าง เช่น Amazon มีการป้องกัน e-book ของพวกเขาโดยการวางไว้ในรูปแบบ AZW format ดังนั้นพวกเขาจึงไม่สามารถอ่านได้ใน e-readers อื่น ๆนอกจากอ่านใน Kindle เท่านั้น
Can DRM be cracked?
DRM สามารถทำการ cracked ได้ เช่นเดียวกับข้อจำกัดของไฟล์ชนิดอื่นๆ กับซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์และมีความคงทนซึ่งเกือบทุกอย่างสามารถทำการ cracked ได้
ข้อด้อยของ e-book
1. ต้องมีเครื่องอ่าน
e - book ต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น อุปกรณ์ต่อพ่วงและซอฟต์แวร์ที่สามารถเข้ากันได้เพื่อใช้ในการแสดงผล
2. อ่านได้เฉพาะเครื่องอ่าน
ในขณะที่ e - book จำเป้นต้องใช้อุปกรณ์พ่อพ่วงเพื่อให้สามารถอ่านได้ ดังนั้นมันจึงสามารถรับผลกระทบจากความผิดพลาดจากภายนอกฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ล้มเหลว เป็นต้น
3. ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า
อุปกรณ์ของ e - book ทั้งหมดต้องใช้พลังงานไฟฟ้า
4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์บางเล่ม (ไฟล์)อาจไม่สามารถใช้กับเครื่องรุ่นใหม่ได้
เนื่องจาก e - book บางรุ่นอาจจะล้าสมัยหรือตกรุ่นไปแล้วจึงทำให้ไม่สามารถเข้ากันกับอุปกรณ์ที่ใหม่กว่าได้
5. หายง่าย
ผู้อ่านหนังสือมีแนวโน้มที่จะถูกขโมย e-book มากกว่าหนังสือที่เป็นกระดาษ
6. เปราะบางเสียหายง่าย
เนื่องจากไฟล์อิเล็กทรอนิกส์จะสามารถถูก Hack และ Crack ได้ง่าย
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดแรกจะอยู่ในพื้นฐานรูปแบบของกระดาษสิ่งพิมพ์และจากนั้นจึงได้เปลี่ยนเป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Gutenberg Project และศูนย์ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic text Center) ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย
2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทที่สองได้แปลงข้อมูลดิจิทัลในอยู่รูปแบบซีดี และเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบ
HTML ที่สามารถเข้ากันได้ เช่นสารานุกรม Americana (http://ea.grolier.com/ea- online/static/search.htm)
3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทสุดท้ายเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นระบบดิจิตอลตั้งแต่ต้น หรือ
เรียกอีกอย่างว่า Born Digital
Optical Character Recognition - OCR เป็นโปรแกรมอ่าน Text จากภาพ
โดยการนำข้อมูลจากหนังสือ มาทำการ Scan ด้วยเครื่อง Scanner จากนั้นใช้โปรแกรมประเภท OCR (Optical Character Recognition) มาทำการแปลงภาพที่ได้ ให้อยู่ในรูปแบบของ MS Word จากนั้นก็จะสามารถนำมาแต่งเพิ่มเติมได้ ยกตัวอย่าง โปรแกรม Omnipage และThai OCR (www.nectec.or.th)
Book Scanner
Book Scanner
การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Publishing model)
1. จัดทำส่วนบุคคล (Self-publishing)
2. จัดทำเพื่อการค้า (Commercial)
3. จัดทำเพื่อการศึกษา (Educational)
1. จัดทำส่วนบุคคล (Self-publishing)
จัดทำโดยผู้แต่งโดยตรง เช่น
Stephen King’s novels (http://www.stephenkingnews.com/)
หรือโดยตัวกลางจัดจำหน่าย เช่น
Amazon (http://www.amazon.com)
Barnes & Noble (http://www.barnesandnoble.com/).
Fatbrain (http://www.fatbrain.com) offers an “eMatter Initiative”
ซึ่งในที่นี้ผู้แต่งสามารถจัดทำได้บนอินเทอร์เน็ต
2. จัดทำเพื่อการค้า (Commercial)
นำไปใช้กับการตลาดเชิงพาณิชย์และต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับใบอนุญาตจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3. จัดทำเพื่อการศึกษา (Educational)
เป็นการเผยแพร่เพื่อการศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ทำการเผยแพร่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนของพวกเขา เช่น ตำราเรียน
- John Hopkins University Press - Oxford University Press
- Cambridge University Press
ซอฟต์แวร์สำหรับการจัดทำ
- ExeBook Self-Publisher
- e-ditor
- Mobipocket Publisher 3.0
- Desktop Author
- eBookGold
- E Book crator
- Flip Alablum
ส่วนมากซอฟแวร์เหล่านี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อมาใช้ แต่ก็ยังมี ซอฟแวร์ e-ditor ที่เป็น OSS ที่สามารถโหลดมาใช้งานฟรีได้
E-Book And Library
ข้อดี สำหรับห้องสมุดCooperative
สามารถจัดการรูปแบบของความร่วมมือในการจัดซื้อ ประหยัดงบประมาณ และสามารถเข้า
ถึงสารนเทศได้ในปริมาณที่มากขึ้น
Better Access ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้จำนวนมากขึ้นในครั้งเดียวกัน และ มีรูปแบบหลากหลายให้เลือก
txt pdf html dll ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมตามเครื่องมือที่มีสำหรับเปิดดู
Delivery to user สามารถสนองความต้องการที่มีความต้องการได้ข้อมูลทันที VS ช้า
Cost and variable format
ราคาถูกกว่าสิ่งพิมพ์ และรูปแบบการจัดทำสะดวกที่ห้องสมุดไม่จำเป็นที่ต้องซื้อในรูปแบบที่หลากหลายเหมือนหนังสือ Bound book, text book, large print version
Storage
การจัดเก็บสามารถจัดเก็บได้สะดวกขึ้นเนื่องจากสามารถทำสำเนาได้ง่าย และ ไม่เปลืองกระดาษและไม่ต้องทำซ้ำซ้อน ไม่เปลืองเนื้อที่ในการจัดเก็บ
Expanding collections
การบอกรับห้องสมุดเป็นลักษณะการได้รับอนุญาตให้ใช้ (license) จึงสามารถบอกเลิก บอกรับต่อเนื่อง หรือจัดซื้อเป็นเจ้าของหากผู็ใช้ต้องการมาก
Staff efficiency ลดงาน เช่น การลงรายการ การขึ้นชั้น การตรวจชั้น ยืม คืน การดูแลรักษา
Author/Publisher
ห้องสมุดสามารถจัดทำสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และสามารถให้บริการออนไลน์ได้ และมีเทคโนโลยีใหม่ที่ห้องสมุดทำมาใช้ในการให้บริการได้มากขึ้น เช่น Blog, WIKI, RSS, OSS
ข้อเสีย
Technical and management problems
- ขั้นตอนการจัดทรัพยากรในรูปแบบใหม่ develop acquisition and circulation models
- บุคลากร ต้องได้รับการฝึกฝนใหม่ เกี่ยวกับการจัดการให้บริการ หรือต้องการบุคคลากรกลุ่มใหม่
- อุปกรณ์สำหรับร่วมใช้อาจต้องเพิ่มงบประมาณ จัดซื้อ และดูแลรักษา
- การดูแลรักษา อุปกรณ์ที่ต้องให้บริการร่วม Reader device
- ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการขาด reader device
- ผู้ใช้ต้องได้รับการอบรม
- การจัดซื้อ การจัดซื้อโดยตรงจากผู้จำหน่าย ผ่าน เครดิตการ์ด ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับห้องสมุด
Development model
- การจัดบริการเป็นเรื่องใหม่
- ผู้ผลิต ผู้จัดทำ
> อาจไม่มุ่งจัดทำสำหรับห้องสมุด ต้องทำการปรับ หรือ จัดการให้บริการ
> การจัดทำต่างรูปแบบ การให้บริการ การเข้าถึงที่หลากหลาย
- ต้องเข้าใจวิธีการตกลง ดูแลเกี่ยวกับการเข้าถึง และ การให้บริการที่ต้องทำการตกลงกับผู้ให้บริการ
- การดูแลเกี่ยวกับสิทธิของการใช้
Resistance to change
- Staff & user
วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
Electronic Book - E- Book
สรุปการเรียนการสอนเรื่อง Electronic Book ประจำวันพฤหัสบดี ที่ 7 ก.ค. 54
The Evolution of Books
E Book
คือ หนังสือที่สามารถอ่านผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องปาล์ม หรือเครื่องอ่าน e-book โดยเฉพาะ มีลักษณะเด่นกว่าหนังสือที่เป็นกระดาษที่สามารถแสดงผลด้วยภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวได้ นอกเหนือจากข้อความที่เป็นตัวอักษร อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่าน
การจัดทำมีหลายรูปแบบ ได้แก่
1. Hardcover
2. Paperback
3. MP3 CD
4. Audiobook
5. MP3 Audio
คุณสมบัติของ E Book reader
- ค้นภายในเนื้อหา (inside search, keyword searching)
- บันทึกข้อความ (note-taking)
- คัดลอกและวาง (copying and pasting)
- พจนานุกรม (dictionary capabilities)
- เน้นข้อความ และเพิ่มเติมข้อความ (allow non-permanent highlighting and annotation)
- ปรับขยาย ตำแหน่ง
- อ่านออกเสียงได้
- เชื่อมโยง (hyperlink)
- ต่ออินเทอร์เน็ต (internet)
- ดีต่อสิ่งแวดล้อม
ประวัติ
แนวคิดความคิดในเรื่องหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ปรากฏในนิยายทางวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1940 ได้แก่เรื่อง
- The Foundation
- Star war
- Time Machine
เครื่องอ่านแบบพกพา hand-held device/reader device เขียนกล่าวถึง 20 ปีมาแล้วใน “Hitchhiker’s Guide To The Galaxy” 1979
1971 : ไมเคิลฮาร์ทเอสเริ่มทำโครงการ Gutenberg Project
1985-1992 :โรเบิร์ต สไตน์เริ่มต้นเปิดบริษัท Voyager Company Expanded Books และจัดทำหนังสือในรูปแบบ CD - ROMs
1993 : เริ่มมีการพัฒนาซอฟแวร์เพื่อใช้สำหรับอ่านหนังสือดิจิทัลเป็นครั้งแรก ซึ่งได้มีการเผยแพร่บน Murder Considered ของ Thomas de Quincey
1993 : Brad Templeton ได้รับรางวัลHugo Award ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงสำหรับบทความที่ดีที่สุดที่เผยแพร่บน CD-ROM
1993 : โครงการหนังสือดิจิตอลออนไลน์ฟรีบนอินเตอร์เน็ต
1995 : เริ่มมีการขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ต โดย เว็บไซต์ Amazon
2000 : สตีเฟ่นคิงได้นำเสนอหนังสือของเขา ชื่อ"Riding the Bullet"ในรูปแบบไฟล์ดิจิตอลก็สามารถอ่านได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
2001 : Todoebook.com เป็นเว็บไซต์แรกที่ทำการขาย e-book ในสเปน
2002 : Random House และ HarperCollins เริ่มต้นขายหนังสือเวอร์ชันดิจิตอลของพวกเขาในชื่อภาษาอังกฤษ
2005 : Amazon ได้ทำการซื้อ Mobipocket เพื่อเป็นการวางตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ทางการตลาด
2006 : Sony ได้เปิดตัวเสนอ Sony Reader ที่ชื่อว่า e-ink
2007 : Zahurk Technologies,Corp.ได้เปิดตัวห้องสมุดหนังสือดิจิตอลครั้งแรกบนอินเทอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ BibliotecaKlemath.com, loslibrosditales.com และ digitalbook.us
2007 : Amazon เปิดตัว Kindle ในสหรัฐอเมริกา
2007 : Bookeen เปิดตัว Cybook Gen3 ในยุโรป
2008 : Adobe และ Sony ตกลงร่วมมือกันเพื่อทำการแบ่งปันเทคโนโลยีของพวกเขา (Reader และ DRM)
2008 : Sony ขาย Sony Reader PRS - 505 ในอังกฤษและฝรั่งเศส
2008 : Amazon เปิดตัว Kindle 2 ในสหรัฐอเมริกา
2009 : Bookeen ได้ทำการปล่อย Opus Cybook ในสหรัฐอเมริกาและในยุโรป
2009 : Amazon เปิดตัว Kindle DX ในสหรัฐอเมริกา
2009 : Amazon Kindle 2 International Edition ไปทั่วโลก
2009 : Barnes & Noble เปิดตัว Nook ในสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบัน : มีมือถือ iPhone , Blackberry
ข้อดี คือ
Multimedia format มีเสียง ภาพเคลื่อนไหว อ่านออกเสียงได้(Audio Book)
No wait time เข้าถึงได้เร็ว และสามารถอ่านได้ทันทีที่ซื้อ
Inexpensive ราคาต่ำกว่าสิ่งพิมพ์ ไม่มีค่าส่ง โดยเฉพาะหนังสือวิชาการ สามารถสั่งทำเฉพาะที่ต้องการ
และสามารถกำหนดบทที่ต้องการได้
Storage ไม่ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บ เครื่องมืออ่านสามารถจัดเก็บได้ในจำนวนมากถึง 1,000 เล่ม
Environment รักษาและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มากกว่าสิ่งพิมพ์ที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตมากกว่าถึง 3 เท่า
และใช้น้ำมากกว่า 78 เท่า
Discussion: Hotspot
Hotspot หมายถึง ภาพหรือคำที่ปรากฎใน e - books ที่สามารถช่วยให้คำอธิบายเพิ่มเติมแก่เด็กๆหรือการออกเสียงเพื่อช่วยให้เด็กมีการเรียนรู้ และE - books ยังช่วยให้เด็กสามารถอ่านพจนานุกรมในขณะที่พบเจอคำศัพท์ยากๆได้ นอกจากนั้น E - books ยังมีคุณสมบัติการใช้งานภาพที่เด็กสามารถค้นหาภาพที่พวกเขาต้องการได้
ข้อด้อย คือ
มีการละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้น
ปัญหาที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพ คือ การใช้สายตาในการเพ่งเล็งนานมากเกินไป สามารถทำให้เกิดการปวดตาได้
E - books กับการละเมิดลิขสิทธิ์
การเพิ่มขึ้นของจำนวนการซื้อ e - books ที่มีอยู่และจำนวนการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ e - books ในเว็บไซต์และนอกจากนี้ยังมีการแชร์ไฟล์ใน P2P เพิ่มขึ้นด้วย เราไม่สามารถทราบอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ของ
e - books ในแต่ละปีได้ แต่อย่างไรก็ตามมันได้เพิ่มอัตราขึ้นเรื่อย ๆ จากปีที่ผ่านมา ซึ่ง PCWorld พบว่า 1 ใน 3 ของจำนวนหนังสือที่ขายดีที่สุดสำหรับปี 2009 สามารถพบได้บนเครือข่ายของ P2P, ในหน้าเว็บแลกเปลี่ยนหนังสือและแชร์ไฟล์
วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ภารกิจในการเข้าถึงเอกสารแบบเปิด:ระดับมหาวิทยาลัยและแหล่งทุน
สรุปการเรียนการสอนเรื่อง ภารกิจในการเข้าถึงเอกสารแบบเปิด:ระดับมหาวิทยาลัยและแหล่งทุน ประจำวันจันทร์ ที่ 4 ก.ค. 54
การเข้าถึงบทความที่เป็นเอกสาร OA ผู้อ่านสามารถเข้าถึงบทความได้ในรูปแบบดิจิทัลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งภารกิจในการทำคลังเอกสารนี้เกิดจากการลงมติของสถาบันการวิจัย และฝ่ายงานวิชาการของมหาวิทยาลัยที่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำคลังเอกสาร ทั้งนี้หน่วยงานที่มีสำคัญในการออกภารกิจการจัดทำเอกสาร OA ได้แก่ มหาวิทยาลัย กรมหน่วยงานของรัฐบาล และองค์กรต่างๆซึ่งมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลกได้มีการออกภารกิจการจัดทำเอกสาร OA ขึ้นรวมทั้งหมด 146 แห่ง เป็นหน่วยงาน รัฐบาลจำนวน 30 หน่วยงาน องค์กรผู้ให้ทุนอื่นๆ 46 แห่ง และองค์กรการวิจัย 75 แห่ง รวมทั้งสิ้น 276 แห่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยที่มีการจัดทำคลังเอกสาร OA และออกภารกิจการจัดทำเอกสาร OA แห่งแรก คือ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด
ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ของมหาวิทยาลัย
เนื่องจากการจัดทำเอกสาร OA เป็นการเปิดความคิด เปิดทัศนะคติ และยังช่วยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ดังนั้นมหาลัยหลายๆแห่งจึงมีการกำหนดนโยบายในการจัดทำเอกสาร OA ขึ้นเพื่อให้การจัดทำเอกสาร OA มีมาตรฐานและมีคุณภาพ โดยองค์กรที่มีหารกำหนดภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA มีทั้งสิ้น 264 องค์กร (Roarmap, 2010) แบ่งเป็นมหาวิทยาลัย 208 แห่ง ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างภารกิจของมหาวิทยาลัย Harvard University ให้ได้ทราบข้อมูลพอสังเขป
Harvard University
เป็นสถาบันแห่งแรกของสหรัฐอเมริกาที่ได้นำเอกสาร OA มาใช้ ซึ่งคณะที่ริเริ่มทำเอกสาร OA คือ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยมีการจัดตั้งคณะผู้ดำเนินงานและวางแผนโครงการว่าจะใช้อินเทอร์เน็ตในการเผยแพร่เอกสาร OA ซึ่งการนำงานของผู้เขียนมาจัดทำเป็นเอกสารเปิดสารธารณะที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั้น ผู้เขียนจะต้องนำผลงานของตนมาทำเป็นวารสารแบบเสรี ซึ่งผู้เขียนเองก็มีความคาดหวังว่าบทความของตนจะถูกนำไปดัดแปลงหรือต่อยอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้ ซึ่งการจัดทำเอกสาร OA นั้นทางมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดคาดหวังว่าจะทำให้การค้นคว้าวิจัยมีขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น
ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีทั้งหมด 9 ข้อดังนี้
1. กำหนดให้คณะต่างๆในมหาวิทยาลัยจัดทำเอกสาร OA โดยใช้สัญญาอนุญาตและใช้ครีเอทีฟคอมมอนเป็นสัญลักษณ์ผู้สร้างสรรค์ผลงาน
2. เอกสารหรือ ผลงานที่นำมาจัดทำเป็นเอกสาร OA จะไม่สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อหวังผลกำไรได้ เนื่องจากบทความทุกบทความมีสัญญาอนุญาตของผู้แต่ง หรือเจ้าของผลงานนั้น
3. มีการจัดทำคลังจัดเก็บเอกสารที่บุคคลทั่วไปสามารถสืบค้น และเข้าใช้ได้
4. เจ้าของผลงานหรือนักวิจัยสามารถส่งสำเนาให้กับทางคณะได้โดยตรง จากนั้นทางคณะจะนำเอกสาร หรือผลงานไปจัดทำให้เอกสารฉบับนั้นเป็นเอกสาร OA
5. เอกสารที่เป็นเอกสาร OA จะผ่านการรับรองโดย Faculty of Art and Science - FAS
6. เอกสารหรือผลงานทางวิชาการต่างๆ ทางคระจะทำการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการเผยแพร่ โดยเอกสารบางอย่างอาจถูกคัดออก เนื่องจากความไม่เหมาะสมในบางประการ
7. เมื่อเจ้าของผลงานมีความต้องการที่จะเผยแพร่เอกสาร ทางคณะสามารถนำบทความหรือผลงานทางวิชาการ ไปเผยแพร่ยังวารสารที่เจ้าของผลงานต้องการนำผลงานของตนไปเผยแพร่ได้ นอกจากนั้นยังให้การรับรองในการรักษาสิทธิของเจ้าของผลงาน
8. เมื่อนำผลงานทางวิชาการมาเผยแพร่เป็นเอกสาร OA แล้วทางคณะจะทำการรักษาสัญญาอนุญาต หรือสิทธิให้เจ้าของผลงานโดยไม่มีการกำหนดระยะเวลา
9. เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับผลงานต่างๆ ในด้านสิทธิของเจ้าของผลงานสามารถมาทำคำร้องที่มหาวิทยาลัยได้ และทางคณบดีของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จะจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ (Eastman, G., 2008)
ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ขององค์กรผู้ให้ทุน
การเข้าถึงบทความที่เป็นเอกสาร OA ผู้อ่านสามารถเข้าถึงบทความได้ในรูปแบบดิจิทัลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งภารกิจในการทำคลังเอกสารนี้เกิดจากการลงมติของสถาบันการวิจัย และฝ่ายงานวิชาการของมหาวิทยาลัยที่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำคลังเอกสาร ทั้งนี้หน่วยงานที่มีสำคัญในการออกภารกิจการจัดทำเอกสาร OA ได้แก่ มหาวิทยาลัย กรมหน่วยงานของรัฐบาล และองค์กรต่างๆซึ่งมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลกได้มีการออกภารกิจการจัดทำเอกสาร OA ขึ้นรวมทั้งหมด 146 แห่ง เป็นหน่วยงาน รัฐบาลจำนวน 30 หน่วยงาน องค์กรผู้ให้ทุนอื่นๆ 46 แห่ง และองค์กรการวิจัย 75 แห่ง รวมทั้งสิ้น 276 แห่ง ซึ่งมหาวิทยาลัยที่มีการจัดทำคลังเอกสาร OA และออกภารกิจการจัดทำเอกสาร OA แห่งแรก คือ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด
ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ของมหาวิทยาลัย
เนื่องจากการจัดทำเอกสาร OA เป็นการเปิดความคิด เปิดทัศนะคติ และยังช่วยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ดังนั้นมหาลัยหลายๆแห่งจึงมีการกำหนดนโยบายในการจัดทำเอกสาร OA ขึ้นเพื่อให้การจัดทำเอกสาร OA มีมาตรฐานและมีคุณภาพ โดยองค์กรที่มีหารกำหนดภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA มีทั้งสิ้น 264 องค์กร (Roarmap, 2010) แบ่งเป็นมหาวิทยาลัย 208 แห่ง ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างภารกิจของมหาวิทยาลัย Harvard University ให้ได้ทราบข้อมูลพอสังเขป
Harvard University
ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีทั้งหมด 9 ข้อดังนี้
1. กำหนดให้คณะต่างๆในมหาวิทยาลัยจัดทำเอกสาร OA โดยใช้สัญญาอนุญาตและใช้ครีเอทีฟคอมมอนเป็นสัญลักษณ์ผู้สร้างสรรค์ผลงาน
2. เอกสารหรือ ผลงานที่นำมาจัดทำเป็นเอกสาร OA จะไม่สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อหวังผลกำไรได้ เนื่องจากบทความทุกบทความมีสัญญาอนุญาตของผู้แต่ง หรือเจ้าของผลงานนั้น
3. มีการจัดทำคลังจัดเก็บเอกสารที่บุคคลทั่วไปสามารถสืบค้น และเข้าใช้ได้
4. เจ้าของผลงานหรือนักวิจัยสามารถส่งสำเนาให้กับทางคณะได้โดยตรง จากนั้นทางคณะจะนำเอกสาร หรือผลงานไปจัดทำให้เอกสารฉบับนั้นเป็นเอกสาร OA
5. เอกสารที่เป็นเอกสาร OA จะผ่านการรับรองโดย Faculty of Art and Science - FAS
6. เอกสารหรือผลงานทางวิชาการต่างๆ ทางคระจะทำการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการเผยแพร่ โดยเอกสารบางอย่างอาจถูกคัดออก เนื่องจากความไม่เหมาะสมในบางประการ
7. เมื่อเจ้าของผลงานมีความต้องการที่จะเผยแพร่เอกสาร ทางคณะสามารถนำบทความหรือผลงานทางวิชาการ ไปเผยแพร่ยังวารสารที่เจ้าของผลงานต้องการนำผลงานของตนไปเผยแพร่ได้ นอกจากนั้นยังให้การรับรองในการรักษาสิทธิของเจ้าของผลงาน
8. เมื่อนำผลงานทางวิชาการมาเผยแพร่เป็นเอกสาร OA แล้วทางคณะจะทำการรักษาสัญญาอนุญาต หรือสิทธิให้เจ้าของผลงานโดยไม่มีการกำหนดระยะเวลา
9. เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับผลงานต่างๆ ในด้านสิทธิของเจ้าของผลงานสามารถมาทำคำร้องที่มหาวิทยาลัยได้ และทางคณบดีของคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จะจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ (Eastman, G., 2008)
ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ขององค์กรผู้ให้ทุน
องกรณ์ผู้ให้ทุนเป็นองค์กรที่มีความสำคัญต่อการจัดทำเอกสาร OA เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นผู้สนับสนุน และให้ทุนแก่ผู้ทำวิจัย หรือต้องการมีผลงานทางวิชาการ โดยในการให้ทุนนั้น ในปัจจุบันผู้ให้ทุนจะมีการจัดทำนโยบายในการจัดทำเอกสาร OA เช่นกันเพื่อกำหนดเงื่อนไข และข้อกำหนดในการให้ทุน ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างองค์กรผู้ให้ทุน Wellcome trust โดยมีรายละเอียดดังนี้
Wellcome trust
เป็นองค์กรเอกชนที่ให้การสนับสนุนและให้เงินทุนในการจัดทำเอกสาร OA ซึ่งนับว่าเป็นองค์กรผู้ให้ทุนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอังกฤษ ที่ให้ทุนสำหรับงานวิจัยทางด้านการแพทย์ โดยการจัดทำเอกสาร OA นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเผลแพร่งานวิจัย ตามพันธกิจขององค์กร ที่จะช่วยให้เกิดผู้เชียวชาญการวิจัยทางด้านการแพทย์และชีววิทยา ผลงานวิจัยนี้เป็นความคิด และความรู้ใหม่ที่มีความน่าเชื่อถือและได้รับการตรวจสอบจากนักวิชาการแล้ว ทั้งนี้ ทาง Wellcome trust จะเปิดรับเฉพาะเอกสารทางด้านการวิจัย หรืองานวิจัยเท่านั้น โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลการวิจัยได้จากฐานข้อมูล PMC ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทางด้านการแพทย์ที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับในสากล (Wellcome trust, n.d.)
ภารกิจในการจัดทำเอกสาร OA ของ Wellcome trust มีรายละเอียดดังนี้
1. ผู้ที่ได้รับทุนการทำวิจัยจะต้องนำผลงานการวิจัยกลับมาให้ทาง Wellcome trust เผยแพร่เผ็นเอกสาร OA
2. บทความของผู้รับทุนจะถูกเผยแพร่ในฐานข้อมูล PMC และ UK PunMed Central (UK PMC) การทำเอกสารต้นฉบับต้องอยู่ในรูปแบบดิจิทัลและให้ Wellcome trust ตรวจสอบก่อน และจะนำไปเผยแพร่ยังฐานข้อมูลที่กล่าวมาภายในเวลา 6 เดือน หลังจากเจ้าของผลงานส่งผลงานฉบับสมบูรณ์ (postprint) กลับมา
3. ผู้ขอรับทุนสามารถขอรับทุนเพิ่มเติมได้ โดยทาง Wellcome trust จะให้เงินทุนเพิ่มเติมผ่านสถาบันของผู้รับทุน เพื่อประโยชน์ต่อการแสวงหาความรู้อันจะนำมาซึ่งความรู้ที่มีคุณภาพ และก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือของสถาบัน
4. การเผยแพร่ข้อมูลจะเป็นการเผยแพร่เอกสารฉบับเต็มที่ผู้ใช้สามารถคัดลอกได้อย่างอิสระภายใต้สัญญาอนุญาต ซึ่งจะต้องมีการอ้างถึงเมื่อนำบทความหรือข้อมูลทางวิชาการไปใช้
5. หากผลงานที่ผู้รับทุนนำมาฝากเป็นผลงานที่มีคุณภาพ และมีผู้อ้างถึงมาก ทางองค์กรจะมีการพิจารณาให้ทุนแก่เจ้าของผลงานคนดังกล่าวในคราวต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554
Gold OA หรือ OA Journal
สรุปการเรียนเรื่อง Gold OA ประจำวันพฤหัสบดีที่ 30 มิ.ย. 54
Gold OA: OA Journal
เป็นวารสารที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระทันทีที่ส่งตีพิมพ์ การที่เรียก OA journal ว่าเป็น Gold OA เพราะว่าสามารถตอบปัญหาของ serial crisis ได้ว่าตัวราคาของวารสารที่สูงขึ้นนั้นทำให้ห้องสมุดไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะบอกรับวารสารมาเพื่อให้บริการ และไม่สามารถนำมาต่อยอดได้ ซึ่ง OA journal เป็นอิเล็กทรอนิกส์เจอนัลที่เป็นแหล่งข้อมูลซึ่งสามารถเข้าถึงได้สาธารณะ ที่ให้บริการในรูปแบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่
แหล่งรวมรายชื่อวารสาร Gold OA ที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน คือ DOAJ (Directory of Open Access Journals) มีจำนวนวารสาร มากกว่า 5,138 ชื่อ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวารสาร gold OA จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่คิดเป็นเพียง 20% ของจำนวนวารสารวิชาการทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก (ข้อมูลจาก Ulrich’s Internatioanl Periodicals Directory 2010) ในฐานข้อมูล DOAJ มีวารสาร Gold OA สาขา social sciences มากถึง 39% รองลงมาคือ สาขา health sciences 24% สาขา physical sciences 20% และสาขา life sciences 14%
Open Access Journals
ในแต่บะปีจะมีงานวิจัยอยู่ถึง 2.5 ล้าน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะนำไปลงในวารสาร ซึ่ง OA Journal จะไม่นับรวม gray literature ที่เป็นบทความหายาก แต่มีประโยชน์ เช่นเอกสารประจำสัมมนาต่างๆ หรือรายงานจำพวก voice papers ต่างๆ แต่จะนับแค่ research Article ที่นำมาลงในบทความวารสาร ซึ่งมีถึง 3.5 ล้านบทความ
Open Access Journals
จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็นวารสารวิชาการ เพราะวารสารวิชาการนั้นมักจะประกอบด้วยบทความทางวิชารการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ หรือบทความวิจารณ์หนังสือ
2. ต้องมีความน่าเชื่อถือ แม้ว่าจะเป็นบทความที่สามารถเจ้าถึงได้สาธารณะก็ตาม เช่น วารสารเชิงวิชาการ ซึ่งจะมีผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและประความน่าเชื่อถือ
3. ต้องเป็นเอกสารที่อยู่ในรูปแบบติจิตอล เพื่อการประหยัดพื้นที่ งบประมาณ และการเข้าถึงที่รวดเร็ว ยั่งยืน
4. ต้องเปิดให้เข้าถึงได้อย่างสาธารณะ
5. ต้องอนุญาตให้ผู้เขียน retain copyright ได้ แต่ถ้าผู้เขียนไม่ต้องการ retain copyright ก็สามารถใช้ licenses Public domain ได้
6. สามารถเลือกใช้ Creative commons หรือ licenses อื่นๆได้ เช่น BSC Document licenses, Pedia wiki licenses หรือ Apple commons document licenses เป็นต้น
ประเภทของ Open Access Journals Publisher
1. Born-OA Publishers
เป็นวารสารที่ไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน แต่คิดจะจัดทำให้วารสารนั้นเป็น OA จึงเรียกว่า Born-OA Publishers ส่วนใหญ่วารสารประเภทนี้เริ่มขึ้นในปี 2000 เริ่มแรกโดยกลุ่ม BioMed Central ซึ้งเป็น IR ด้วย ส่วนใหญ่เป็นวารสารประเภทที่ไม่หวังผลกำไรและมักจะใช้ license Commons creative กลุ่มวารสารที่เป็น Born OA เช่น www.irrodl.org, D-lib Magazine และ PLOS เป็นต้น
2. Conventional Publishers
เป็นวารสารเชิงพาณิชย์ เช่น วารสารสำนักพิมพ์ Springer link จะมีโปรแกรม Springer Open Choice Program เพื่อใช้ในการจัดทำวารสารให้เป็น OA และผู้ที่ประสงค์จะทำวารสารจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดทำด้วย ซึ่งวารสารกลุ่มนี้ก็มีนโยบายของ OA เช่นกัน
3. Non-Traditional Publishers
วารสารกลุ่มนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้ เป็นกลุ่มวารสารที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งแม่ว่าจะอนุญาตให้ผู้เขียนสามารถ retain copyrights ของพวกเขาได้ และใช้ข้อความลิขสิทธิ์ที่เป็น noncommercial ซึ่งเปิดให้มีการจัดการแหล่งข้อมูลวารสารและระบบการเผยแพร่ฟรี เช่น The Open Journal Systems ที่สามารถเข้าไปปรับปรุงได้ง่ายและทำการเผยแพร่วารสารดิจิตอลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหน่วยงานที่นิยมใช้วารสารประเภทนี้ ได้แก่ หน่วยงานทางวิชาการหรือโรงเรียน สถาบันการศึกษาและศูนย์การวิจัย ห้องสมุด และ สมาคมวิชาชีพนักวิชาการ เป็นต้น
ยกตัวอย่างวารวารประเภทนี้ เช่น SCRIPT-ed: A Journal of Law and Technology
Gold OA: OA Journal
เป็นวารสารที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระทันทีที่ส่งตีพิมพ์ การที่เรียก OA journal ว่าเป็น Gold OA เพราะว่าสามารถตอบปัญหาของ serial crisis ได้ว่าตัวราคาของวารสารที่สูงขึ้นนั้นทำให้ห้องสมุดไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะบอกรับวารสารมาเพื่อให้บริการ และไม่สามารถนำมาต่อยอดได้ ซึ่ง OA journal เป็นอิเล็กทรอนิกส์เจอนัลที่เป็นแหล่งข้อมูลซึ่งสามารถเข้าถึงได้สาธารณะ ที่ให้บริการในรูปแบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่
แหล่งรวมรายชื่อวารสาร Gold OA ที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน คือ DOAJ (Directory of Open Access Journals) มีจำนวนวารสาร มากกว่า 5,138 ชื่อ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวารสาร gold OA จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่คิดเป็นเพียง 20% ของจำนวนวารสารวิชาการทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก (ข้อมูลจาก Ulrich’s Internatioanl Periodicals Directory 2010) ในฐานข้อมูล DOAJ มีวารสาร Gold OA สาขา social sciences มากถึง 39% รองลงมาคือ สาขา health sciences 24% สาขา physical sciences 20% และสาขา life sciences 14%
Open Access Journals
ในแต่บะปีจะมีงานวิจัยอยู่ถึง 2.5 ล้าน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะนำไปลงในวารสาร ซึ่ง OA Journal จะไม่นับรวม gray literature ที่เป็นบทความหายาก แต่มีประโยชน์ เช่นเอกสารประจำสัมมนาต่างๆ หรือรายงานจำพวก voice papers ต่างๆ แต่จะนับแค่ research Article ที่นำมาลงในบทความวารสาร ซึ่งมีถึง 3.5 ล้านบทความ
Open Access Journals
จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็นวารสารวิชาการ เพราะวารสารวิชาการนั้นมักจะประกอบด้วยบทความทางวิชารการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ หรือบทความวิจารณ์หนังสือ
2. ต้องมีความน่าเชื่อถือ แม้ว่าจะเป็นบทความที่สามารถเจ้าถึงได้สาธารณะก็ตาม เช่น วารสารเชิงวิชาการ ซึ่งจะมีผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและประความน่าเชื่อถือ
3. ต้องเป็นเอกสารที่อยู่ในรูปแบบติจิตอล เพื่อการประหยัดพื้นที่ งบประมาณ และการเข้าถึงที่รวดเร็ว ยั่งยืน
4. ต้องเปิดให้เข้าถึงได้อย่างสาธารณะ
5. ต้องอนุญาตให้ผู้เขียน retain copyright ได้ แต่ถ้าผู้เขียนไม่ต้องการ retain copyright ก็สามารถใช้ licenses Public domain ได้
6. สามารถเลือกใช้ Creative commons หรือ licenses อื่นๆได้ เช่น BSC Document licenses, Pedia wiki licenses หรือ Apple commons document licenses เป็นต้น
ประเภทของ Open Access Journals Publisher
1. Born-OA Publishers
เป็นวารสารที่ไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน แต่คิดจะจัดทำให้วารสารนั้นเป็น OA จึงเรียกว่า Born-OA Publishers ส่วนใหญ่วารสารประเภทนี้เริ่มขึ้นในปี 2000 เริ่มแรกโดยกลุ่ม BioMed Central ซึ้งเป็น IR ด้วย ส่วนใหญ่เป็นวารสารประเภทที่ไม่หวังผลกำไรและมักจะใช้ license Commons creative กลุ่มวารสารที่เป็น Born OA เช่น www.irrodl.org, D-lib Magazine และ PLOS เป็นต้น
2. Conventional Publishers
เป็นวารสารเชิงพาณิชย์ เช่น วารสารสำนักพิมพ์ Springer link จะมีโปรแกรม Springer Open Choice Program เพื่อใช้ในการจัดทำวารสารให้เป็น OA และผู้ที่ประสงค์จะทำวารสารจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดทำด้วย ซึ่งวารสารกลุ่มนี้ก็มีนโยบายของ OA เช่นกัน
3. Non-Traditional Publishers
วารสารกลุ่มนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้ เป็นกลุ่มวารสารที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งแม่ว่าจะอนุญาตให้ผู้เขียนสามารถ retain copyrights ของพวกเขาได้ และใช้ข้อความลิขสิทธิ์ที่เป็น noncommercial ซึ่งเปิดให้มีการจัดการแหล่งข้อมูลวารสารและระบบการเผยแพร่ฟรี เช่น The Open Journal Systems ที่สามารถเข้าไปปรับปรุงได้ง่ายและทำการเผยแพร่วารสารดิจิตอลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหน่วยงานที่นิยมใช้วารสารประเภทนี้ ได้แก่ หน่วยงานทางวิชาการหรือโรงเรียน สถาบันการศึกษาและศูนย์การวิจัย ห้องสมุด และ สมาคมวิชาชีพนักวิชาการ เป็นต้น
ยกตัวอย่างวารวารประเภทนี้ เช่น SCRIPT-ed: A Journal of Law and Technology
วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554
OA Publishing
สรุป OA Publishing ประจำวันจันทร์ ที่ 27 มิ.ย. 54
Implementing open access (การนำเสนอ OA)
1. Green OA: OA archives or repositories
วารสารที่ตีพิมพ์ในวารสารของสำนักพิมพ์ทั่วไป แต่ผู้เขียนมีสิทธินำบทความมาจัดเก็บไว้ในเว็บไซต์ของตนเอง หรือ คลังความรู้องค์กร (Institutional Repository) เพื่อนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตต่อได้
2. Gold OA: OA journals
เป็นวารสารที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระทันทีที่ส่งตีพิมพ์ การที่เรียก OA journal ว่าเป็น Gold OA เพราะว่าสามารถตอบปัญหาของ serial crisis ได้ว่าตัวราคาของวารสารที่สุงขึ้นทำให้ห้องสมุดไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะซื้อมาใช้เพื่อให้บริการ และไม่สามารถนำมาต่อยยอดได้ ซึ่ง OA journal เป็นอิเล็กทรอนิกส์เจอนัลที่เป็นแหล่งข้อมูลซึ่งสามารถเข้าถึงได้สาธารณะ ที่ให้บริการในรูปแบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่
***OA journals conduct peer review and OA archives do not.
รูปแบบการนำเสนอ Green OA Self-Archiving
1. Author's Personal Websites
2. Disciplinary Archives
3.Institutional-Unit Archives
4. Institutional Repositories
1. Author's Personal Websites
เป็นกน้าที่ของห้องสมุด หรือหน้าที่ของคณะที่ต้องสนับสนุนให้อาจารย์หรือนักวิจัยมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพราะพบว่าส่วนใหญ่อาจารย์ทั้งหลายมักจะเผยแพร่งานวิชาการของตัวเองลงบนเว็บไซต์ ซึ่ง เว็บไซต์เหล่านี้มักจะทำได้ง่ายซึ่งมีการเชื่อมโยงเว็บเพจไม่มาก ที่มีความเกี่ยวข้องกับไฟล์ e-print ใน HTML, PDF, Word หรือในไฟล์รูปแบบอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็จะสามารถทำให้มีความซับซ้อนมากขึ้น ลิ้งค์ของ e-print มักจะอยู่ในรายการสิ่งพิมพ์ที่แยกออกต่างหากหรือรวมอยู่ใน Vita
ไฟล์ของเว็บไซต์มักจะจัดทำดัชนีในเครื่องมือ search engine ซึ่งจะเป็นประโยชน์ถ้ามีการค้นหาข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับความต้องการด้านการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ยกตัวอย่างเช่น ชื่อเรื่อง นับตั้งแต่การย้ายที่ทำงานของผู้เขียน จนกระทั่งตาย ความมั่นคงของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะเป็นตัวแปรที่ช่วยให้เกิดความมั่นใจในตัวของผู้เขียน และผู้เขียนสามารถจัดการ นำเข้า และปรับปรุงบทความได้ตลอด
ข้อดี คือ สามารถเข้าถึงได้ง่ายเพราะ Google สามารถค้นหาได้ และเหมาะที่จะเผยแพร่ E-print ที่สำคัญอย่าลืมใส่ licence ด้วย
Self-Archiving Copyright Practices
แม้ว่าสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์จะสามารถเข้าใช้ได้อย่างเสรี ซึ่งผู้เขียนอาจไม่ได้ปฏิบัติตามประกาศลิขสิทธิ์หรือใบอนุญาต อาจเป็นเพราะ
1. ไม่มีคำสั่งด้านลิขสิทธิ์
2. คำสั่งลิขสิทธิ์แบบทั่วไป
3. คำสั่งลิขสิทธิ์ที่มีการแก้ไขโดยบทบัญญัติการใช้งานเฉพาะ (เช่นการใช้เสรีนิยมได้รับอนุญาตเพื่อ
วัตถุประสงค์ในการค้า)
4. Creative Commons ที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในเชิงพาณิชย์ หรืองานดัดแปลง
5. รูปแบบอื่น
2. Disciplinary Archives:
การจัดเก็บเอกสารประเภทนี้มักจะทำในระดับมหาวิทยาลัย หรือสถาบัน หรือการรวมตัวกันของสถาบันภายนอก จะเจาะจงเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง ซึ่งจะเป็นรวมสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ สิ่งพิมพ์ประเภทอื่นๆที่เป็นงานแบบดิจิทัล โดยผู้เขียนจากทั่วโลก หรืออาจจะเป็นประเทศใดประเทศหนึ่งก็ได้ ซึ่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ในประเทศสหรัฐอเมริกามีนโยบายที่จะส่งเสริมให้นักวิจัยจะต้องนำผลงานการวิจัยของพวกเขาไปจัดเก็บไว้ใน PubMed Central แต่ไม่ได้ทำให้มันเป็นสิ่งจำเป็นแต่อย่างไรก็ตามข้อมูลนั้นจะสามารถนำไปใช้ได้เพียงประมาณ 5% จากข้อมุลทั้งหมด เสถียรภาพและความคงทนของคลังเก็บข้อมูลเหล่านี้จะกำหนดโดยต้นสังกัดอย่างเป็นทางการกับสถาบันหรือองค์กรวิชาชีพของพวกเขา สำหรับเว็บไซต์ส่วนบุคคลมักจะนิยมใช้ open source software เช่น EPrints หรือ DSpace ซึ่งเป็นซอฟแวร์ที่เข้ายากมาก ยกตัวอย่างเช่น arXiv.org (a major disciplinary archive for computer science, mathematics, nonlinear sciences, physics, and quantitative biology)
3. Institutional-Unit Archives
เป็นการจัดเก็บข้อมูลของหน่วยงานย่อยๆภายใต้สถาบันนั้นๆ ตัวอย่างเช่น สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ของคณะมนุษยศาสตร์ จะจัดทำ IR ด้านบรรณารักษศาสตร์ของตนเอง เป็นต้น
เป็นเหมือน open source software และสามารถจัดทำในรูปแบบเดียวกันกับ disciplinary archives ตกตัวอย่างเช่น Duke Law Faculty Scholarship Repository (http://eprints.law.duke.edu)
4. Institutional Repositories
เป็น IR ของมหาวิทยาลัยที่ไม่เจาะจงสาขาวิชา อาจเป็นการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยหลายๆสถาบันร่วมมือกันจัดทำขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ดูแลก็คือ ห้องสมุด เพราะฉะนั้น ห้องสมุดจึงมีบทบาทอย่างมากในการสร้าง Institutional Repositories ให้เกิดขึ้น ซึ่งห้องสมุดอาจจะทำในลักษณะที่รวมทุกสาขาวิชา แต่สามารถจัดแยกได้
โดยนิยมใช้ open source software เช่น DSpace, EPrints หรือ Fedora นอกจากนี้ยังอาจมีการให้บริการ รับฝากเอกสาร การฝึกอบรม และการสนับสนุนผู้ใช้ด้วย ตัวอย่างเช่น DSpace at MIT (https://dspace.mit.edu/index.jsp.)
Implementing open access (การนำเสนอ OA)
1. Green OA: OA archives or repositories
วารสารที่ตีพิมพ์ในวารสารของสำนักพิมพ์ทั่วไป แต่ผู้เขียนมีสิทธินำบทความมาจัดเก็บไว้ในเว็บไซต์ของตนเอง หรือ คลังความรู้องค์กร (Institutional Repository) เพื่อนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตต่อได้
2. Gold OA: OA journals
เป็นวารสารที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระทันทีที่ส่งตีพิมพ์ การที่เรียก OA journal ว่าเป็น Gold OA เพราะว่าสามารถตอบปัญหาของ serial crisis ได้ว่าตัวราคาของวารสารที่สุงขึ้นทำให้ห้องสมุดไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะซื้อมาใช้เพื่อให้บริการ และไม่สามารถนำมาต่อยยอดได้ ซึ่ง OA journal เป็นอิเล็กทรอนิกส์เจอนัลที่เป็นแหล่งข้อมูลซึ่งสามารถเข้าถึงได้สาธารณะ ที่ให้บริการในรูปแบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่
***OA journals conduct peer review and OA archives do not.
รูปแบบการนำเสนอ Green OA Self-Archiving
1. Author's Personal Websites
2. Disciplinary Archives
3.Institutional-Unit Archives
4. Institutional Repositories
1. Author's Personal Websites
เป็นกน้าที่ของห้องสมุด หรือหน้าที่ของคณะที่ต้องสนับสนุนให้อาจารย์หรือนักวิจัยมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพราะพบว่าส่วนใหญ่อาจารย์ทั้งหลายมักจะเผยแพร่งานวิชาการของตัวเองลงบนเว็บไซต์ ซึ่ง เว็บไซต์เหล่านี้มักจะทำได้ง่ายซึ่งมีการเชื่อมโยงเว็บเพจไม่มาก ที่มีความเกี่ยวข้องกับไฟล์ e-print ใน HTML, PDF, Word หรือในไฟล์รูปแบบอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็จะสามารถทำให้มีความซับซ้อนมากขึ้น ลิ้งค์ของ e-print มักจะอยู่ในรายการสิ่งพิมพ์ที่แยกออกต่างหากหรือรวมอยู่ใน Vita
ไฟล์ของเว็บไซต์มักจะจัดทำดัชนีในเครื่องมือ search engine ซึ่งจะเป็นประโยชน์ถ้ามีการค้นหาข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับความต้องการด้านการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ยกตัวอย่างเช่น ชื่อเรื่อง นับตั้งแต่การย้ายที่ทำงานของผู้เขียน จนกระทั่งตาย ความมั่นคงของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะเป็นตัวแปรที่ช่วยให้เกิดความมั่นใจในตัวของผู้เขียน และผู้เขียนสามารถจัดการ นำเข้า และปรับปรุงบทความได้ตลอด
ข้อดี คือ สามารถเข้าถึงได้ง่ายเพราะ Google สามารถค้นหาได้ และเหมาะที่จะเผยแพร่ E-print ที่สำคัญอย่าลืมใส่ licence ด้วย
Self-Archiving Copyright Practices
แม้ว่าสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์จะสามารถเข้าใช้ได้อย่างเสรี ซึ่งผู้เขียนอาจไม่ได้ปฏิบัติตามประกาศลิขสิทธิ์หรือใบอนุญาต อาจเป็นเพราะ
1. ไม่มีคำสั่งด้านลิขสิทธิ์
2. คำสั่งลิขสิทธิ์แบบทั่วไป
3. คำสั่งลิขสิทธิ์ที่มีการแก้ไขโดยบทบัญญัติการใช้งานเฉพาะ (เช่นการใช้เสรีนิยมได้รับอนุญาตเพื่อ
วัตถุประสงค์ในการค้า)
4. Creative Commons ที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในเชิงพาณิชย์ หรืองานดัดแปลง
5. รูปแบบอื่น
2. Disciplinary Archives:
การจัดเก็บเอกสารประเภทนี้มักจะทำในระดับมหาวิทยาลัย หรือสถาบัน หรือการรวมตัวกันของสถาบันภายนอก จะเจาะจงเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง ซึ่งจะเป็นรวมสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ สิ่งพิมพ์ประเภทอื่นๆที่เป็นงานแบบดิจิทัล โดยผู้เขียนจากทั่วโลก หรืออาจจะเป็นประเทศใดประเทศหนึ่งก็ได้ ซึ่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ในประเทศสหรัฐอเมริกามีนโยบายที่จะส่งเสริมให้นักวิจัยจะต้องนำผลงานการวิจัยของพวกเขาไปจัดเก็บไว้ใน PubMed Central แต่ไม่ได้ทำให้มันเป็นสิ่งจำเป็นแต่อย่างไรก็ตามข้อมูลนั้นจะสามารถนำไปใช้ได้เพียงประมาณ 5% จากข้อมุลทั้งหมด เสถียรภาพและความคงทนของคลังเก็บข้อมูลเหล่านี้จะกำหนดโดยต้นสังกัดอย่างเป็นทางการกับสถาบันหรือองค์กรวิชาชีพของพวกเขา สำหรับเว็บไซต์ส่วนบุคคลมักจะนิยมใช้ open source software เช่น EPrints หรือ DSpace ซึ่งเป็นซอฟแวร์ที่เข้ายากมาก ยกตัวอย่างเช่น arXiv.org (a major disciplinary archive for computer science, mathematics, nonlinear sciences, physics, and quantitative biology)
3. Institutional-Unit Archives
เป็นการจัดเก็บข้อมูลของหน่วยงานย่อยๆภายใต้สถาบันนั้นๆ ตัวอย่างเช่น สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ของคณะมนุษยศาสตร์ จะจัดทำ IR ด้านบรรณารักษศาสตร์ของตนเอง เป็นต้น
เป็นเหมือน open source software และสามารถจัดทำในรูปแบบเดียวกันกับ disciplinary archives ตกตัวอย่างเช่น Duke Law Faculty Scholarship Repository (http://eprints.law.duke.edu)
4. Institutional Repositories
เป็น IR ของมหาวิทยาลัยที่ไม่เจาะจงสาขาวิชา อาจเป็นการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยหลายๆสถาบันร่วมมือกันจัดทำขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ดูแลก็คือ ห้องสมุด เพราะฉะนั้น ห้องสมุดจึงมีบทบาทอย่างมากในการสร้าง Institutional Repositories ให้เกิดขึ้น ซึ่งห้องสมุดอาจจะทำในลักษณะที่รวมทุกสาขาวิชา แต่สามารถจัดแยกได้
โดยนิยมใช้ open source software เช่น DSpace, EPrints หรือ Fedora นอกจากนี้ยังอาจมีการให้บริการ รับฝากเอกสาร การฝึกอบรม และการสนับสนุนผู้ใช้ด้วย ตัวอย่างเช่น DSpace at MIT (https://dspace.mit.edu/index.jsp.)
วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554
Public Domain - CCO
สรุป Public Domain - CCO ประจำวันพฤหัสบดี ที่ 23 มิ.ย. 54
สาธารณสมบัติ (Public Domain)
ในกรณีที่ต้องการให้ผลงานนั้นปราศจากเงื่อนไขใดๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบผลงานให้กับสาธารณะผ่านทางครีเอทีฟคอมมอนส์ สามารถทำได้โดยการ ประกาศผลงานชิ้นนั้นให้เป็น Public domain หรือ สมบัติสาธารณะโดยภายใต้สัญลักษณ์ ซึ่งหมายความว่า ไม่ขอสงวนลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น
สาธารณสมบัติ หรือ Public domain ภายใต้กฎหมายไทย
ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้กำหนดไว้ว่า ลิขสิทธิ์จะคงอยู่หลังจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียชีวิต และนับไปอีก 50 ปี แต่ในกรณีไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์ผลงาน การสิ้นสุดลิขสิทธิ์จะคงอยู่ 50 ปีนับจากวันที่ตีพิมพ์ ส่วนงานที่เป็น ประยุกต์ศิลป์ ซึ่งหมายถึง งานที่ประกอบด้วยผลงานศิลปะประเภทต่างๆ เช่น รูปวาด รูปภาพ รูปปั้น ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ภาพถ่าย โครงร่าง และแบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ ผลงานประยุกต์ศิลป์ มีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปีหลังจากตีพิมพ์ การตีพิมพ์ใหม่ไม่เป็นการยืดอายุการคุ้มครองงาน สิ่งพิมพ์รัฐบาลเป็นสาธารณสมบัติ แต่งานที่สร้างสรรค์หรือผลิตโดยหน่วยงานของรัฐบาลจะมีการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว ผลงานต่างๆ จะถือเป็น สาธารณสมบัติ (Public domain) ของประเทศไทย และอยู่ในการดูแลของรัฐบาลไทย สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของ หรือทายาทเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นๆ คนไทยสามารถนำไปทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์
Creative Common: CC
Creative Commons: CC คือ สัญญาอนุญาตนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายขอบข่ายของการใช้สื่อต่างๆ ให้กว้างขึ้นโดยไม่จำกัดที่สัญญาอนุญาตของสื่อนั้นๆ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม ครีเอทีฟคอมมอนส์ก่อตั้งโดย ลอว์เรนซ์ เลสสิก ซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดย โจอิจิ อิโต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิอื่นๆไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลากรูปแบบ ซึ่งรวมถึง การยกให้เป็นสาธารณสมบัติหรือสัญญาอนุญาตแบบเปิดทั้งหลาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ ในส่วนของครีเอทีฟคอมอนส์ประเทศไทย อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (ครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย, 2550)
การกำหนดเงื่อนไข ของ Creative Commons
การกำหนดเงื่อนไขหลักของ Creative Commons มีอยู่ 6 เงื่อนไข (Katz, 2006) ดังนี้
1. เงื่อนไขแบบแสดงที่มา (Attribution) หรือ “by”ผู้เผยแพร่ต่อสามารถนำไปเผยแพร่ ทำสำเนาแจกจ่ายและดัดแปลงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของสารสนเทศนั้น แต่จะต้องระบุที่มาของสารสนเทศนั้น ตามที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้อนุญาตกำหนด
2. แสดงที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า (Attribution-Noncommercial)หรือ “by-nc” เงื่อนไขนี้ผู้ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อสามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เจ้าของลิขสิทธิ์ แต่จะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า
3. แสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และไม่แก้ไขต้นฉบับ (Attribution-Noncommercial -No Derivative Works) หรือ “by-nc-nd” เงื่อนไขนี้อนุญาตให้ทุกคนทำซ้ำและเผยแพร่สารสนเทศนั้นได้ ตราบใดที่ไม่ดัดแปลงหรือตัดต่อสารสนเทศดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงที่มา
ภาพที่ 3 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และไม่แก้ไขต้นฉบับ
4. แสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และใช้อนุญาตแบบเดียวกัน (Attribution-Noncommercial- Share Alike) หรือ “by-nc-sa” หากมีการนำผลงานไปดัดแปลง ปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง หรือต่อเติมงาน จะต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกันหรือแบบที่เหมือนกับงานนี้เท่านั้น รวมถึงต้องระบุแหล่งที่มาของงาน และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าด้วย
ภาพที่ 4 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และใช้อนุญาตแบบเดียวกัน
5. แสดงที่มาและไม่ดัดแปลง (Attribution-No Derivative Works) หรือ “by-nd” ภายใต้เงื่อนไขนี้ ผู้นำไปเผยแพร่สามารถทำสำเนา แจกจ่าย และเผยแพร่งานนี้ต่อไปได้ แต่ไม่สามารถดัดแปลงงานได้ และจะต้องแสดงที่มาของงานนี้
6. แสดงที่มาและอนุญาตแบบเดียวกัน (Attribution- Share Alike) หรือ “by-sa” ผู้เผยแพร่สามารถทำสำเนา แจกจ่าย และดัดแปลงงานดังกล่าวได้ แต่หากจะต้องดัดแปลงจะต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน หรือแบบที่เหมือนกับหรือที่เข้ากันได้กับสัญญาอนุญาตที่ใช้กับงานนี้เท่านั้น
สาธารณสมบัติ (Public Domain)
ในกรณีที่ต้องการให้ผลงานนั้นปราศจากเงื่อนไขใดๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบผลงานให้กับสาธารณะผ่านทางครีเอทีฟคอมมอนส์ สามารถทำได้โดยการ ประกาศผลงานชิ้นนั้นให้เป็น Public domain หรือ สมบัติสาธารณะโดยภายใต้สัญลักษณ์ ซึ่งหมายความว่า ไม่ขอสงวนลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น
สาธารณสมบัติ หรือ Public domain ภายใต้กฎหมายไทย
ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้กำหนดไว้ว่า ลิขสิทธิ์จะคงอยู่หลังจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียชีวิต และนับไปอีก 50 ปี แต่ในกรณีไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์ผลงาน การสิ้นสุดลิขสิทธิ์จะคงอยู่ 50 ปีนับจากวันที่ตีพิมพ์ ส่วนงานที่เป็น ประยุกต์ศิลป์ ซึ่งหมายถึง งานที่ประกอบด้วยผลงานศิลปะประเภทต่างๆ เช่น รูปวาด รูปภาพ รูปปั้น ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ภาพถ่าย โครงร่าง และแบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ ผลงานประยุกต์ศิลป์ มีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปีหลังจากตีพิมพ์ การตีพิมพ์ใหม่ไม่เป็นการยืดอายุการคุ้มครองงาน สิ่งพิมพ์รัฐบาลเป็นสาธารณสมบัติ แต่งานที่สร้างสรรค์หรือผลิตโดยหน่วยงานของรัฐบาลจะมีการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว ผลงานต่างๆ จะถือเป็น สาธารณสมบัติ (Public domain) ของประเทศไทย และอยู่ในการดูแลของรัฐบาลไทย สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของ หรือทายาทเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นๆ คนไทยสามารถนำไปทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์
Creative Common: CC
Creative Commons: CC คือ สัญญาอนุญาตนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายขอบข่ายของการใช้สื่อต่างๆ ให้กว้างขึ้นโดยไม่จำกัดที่สัญญาอนุญาตของสื่อนั้นๆ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม ครีเอทีฟคอมมอนส์ก่อตั้งโดย ลอว์เรนซ์ เลสสิก ซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดย โจอิจิ อิโต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิอื่นๆไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลากรูปแบบ ซึ่งรวมถึง การยกให้เป็นสาธารณสมบัติหรือสัญญาอนุญาตแบบเปิดทั้งหลาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ ในส่วนของครีเอทีฟคอมอนส์ประเทศไทย อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (ครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย, 2550)
การกำหนดเงื่อนไข ของ Creative Commons
การกำหนดเงื่อนไขหลักของ Creative Commons มีอยู่ 6 เงื่อนไข (Katz, 2006) ดังนี้
1. เงื่อนไขแบบแสดงที่มา (Attribution) หรือ “by”ผู้เผยแพร่ต่อสามารถนำไปเผยแพร่ ทำสำเนาแจกจ่ายและดัดแปลงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของสารสนเทศนั้น แต่จะต้องระบุที่มาของสารสนเทศนั้น ตามที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้อนุญาตกำหนด
ภาพที่ 1 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา
(Creative Commons, n.d.)
2. แสดงที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า (Attribution-Noncommercial)หรือ “by-nc” เงื่อนไขนี้ผู้ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อสามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เจ้าของลิขสิทธิ์ แต่จะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า
ภาพที่ 2 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มาและไม่ใช้เพื่อการค้า
(Creative Commons, n.d.)
3. แสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และไม่แก้ไขต้นฉบับ (Attribution-Noncommercial -No Derivative Works) หรือ “by-nc-nd” เงื่อนไขนี้อนุญาตให้ทุกคนทำซ้ำและเผยแพร่สารสนเทศนั้นได้ ตราบใดที่ไม่ดัดแปลงหรือตัดต่อสารสนเทศดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงที่มา
ภาพที่ 3 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และไม่แก้ไขต้นฉบับ
(Creative Commons, n.d.)
4. แสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และใช้อนุญาตแบบเดียวกัน (Attribution-Noncommercial- Share Alike) หรือ “by-nc-sa” หากมีการนำผลงานไปดัดแปลง ปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง หรือต่อเติมงาน จะต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกันหรือแบบที่เหมือนกับงานนี้เท่านั้น รวมถึงต้องระบุแหล่งที่มาของงาน และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าด้วย
ภาพที่ 4 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และใช้อนุญาตแบบเดียวกัน
(Creative Commons, n.d.)
5. แสดงที่มาและไม่ดัดแปลง (Attribution-No Derivative Works) หรือ “by-nd” ภายใต้เงื่อนไขนี้ ผู้นำไปเผยแพร่สามารถทำสำเนา แจกจ่าย และเผยแพร่งานนี้ต่อไปได้ แต่ไม่สามารถดัดแปลงงานได้ และจะต้องแสดงที่มาของงานนี้
ภาพที่ 5 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มาและไม่ดัดแปลง
(Creative Commons, n.d.)
6. แสดงที่มาและอนุญาตแบบเดียวกัน (Attribution- Share Alike) หรือ “by-sa” ผู้เผยแพร่สามารถทำสำเนา แจกจ่าย และดัดแปลงงานดังกล่าวได้ แต่หากจะต้องดัดแปลงจะต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน หรือแบบที่เหมือนกับหรือที่เข้ากันได้กับสัญญาอนุญาตที่ใช้กับงานนี้เท่านั้น
ภาพที่ 6 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มาและอนุญาตแบบเดียวกัน
(Creative Commons, n.d.)
คำศัพท์ที่ควรทราบ
1. Preprint
เป็นเอกสารก่อนการจัดพิมพ์ซึ่งถูกเก็บอยู่ในรูปแบบของดิจิทัลมักจะนำไปเก็บอยู่ในเซิฟเวอร์ของคลังสารสนเทศสถาบันนั้นๆเพื่อเป็นการประหยัดเนื้อที่และสามารถจัดพิมพ์ทรัพยากรสารสนเทศได้เรื่อยๆ เพื่อที่จะให้สำนักพิมพ์ได้ใช้บทความไประยะหนึ่งก่อนคืนลิขสิทธิ์มาให้ผู้เขียนหนังสือ
2. Postprint
เป็นเอกสารฉบับสมบูรณ์ที่จะใช้ในการพิมพ์ อาจจะเป็นฉบับที่สำนักพิมพ์หรือฉบับปรับปรุงจาก preprint ที่ผู้เขียนทำการปรับปรุงระหว่างการได้รับการประเมินคุณภาพและอยู่ในระหว่างการตีพิมพ์
3. Gray literature
หมายถึง เอกสารที่ไม่ได้มีการตีพิมพ์โดยทั่วไป (หนังสือวารสาร) เช่น รายงานของหน่วยงาน หรือรายงานวิชาการ เอกสารการทำงาน (Working papers) เอกสารทางธุรกิจ (Business documents) หรือเอกสารอื่นๆที่มีการควบคุมคุณภาพโดยมีการพิจารณาก่อนการตีพิมพ์
4. Errata/corrigenda
เป็นการอัพเดทจาก preprints มีการนำข้อมูลใหม่มาปรับปรุงแก้ไข เอกสารที่ส่งใน IR สามารถปรับปรุงแก้ไขได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)