Implementing open access (การนำเสนอ OA)
1. Green OA: OA archives or repositories
วารสารที่ตีพิมพ์ในวารสารของสำนักพิมพ์ทั่วไป แต่ผู้เขียนมีสิทธินำบทความมาจัดเก็บไว้ในเว็บไซต์ของตนเอง หรือ คลังความรู้องค์กร (Institutional Repository) เพื่อนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตต่อได้
2. Gold OA: OA journals
เป็นวารสารที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระทันทีที่ส่งตีพิมพ์ การที่เรียก OA journal ว่าเป็น Gold OA เพราะว่าสามารถตอบปัญหาของ serial crisis ได้ว่าตัวราคาของวารสารที่สุงขึ้นทำให้ห้องสมุดไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะซื้อมาใช้เพื่อให้บริการ และไม่สามารถนำมาต่อยยอดได้ ซึ่ง OA journal เป็นอิเล็กทรอนิกส์เจอนัลที่เป็นแหล่งข้อมูลซึ่งสามารถเข้าถึงได้สาธารณะ ที่ให้บริการในรูปแบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่
***OA journals conduct peer review and OA archives do not.
รูปแบบการนำเสนอ Green OA Self-Archiving
1. Author's Personal Websites
2. Disciplinary Archives
3.Institutional-Unit Archives
4. Institutional Repositories
1. Author's Personal Websites
เป็นกน้าที่ของห้องสมุด หรือหน้าที่ของคณะที่ต้องสนับสนุนให้อาจารย์หรือนักวิจัยมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพราะพบว่าส่วนใหญ่อาจารย์ทั้งหลายมักจะเผยแพร่งานวิชาการของตัวเองลงบนเว็บไซต์ ซึ่ง เว็บไซต์เหล่านี้มักจะทำได้ง่ายซึ่งมีการเชื่อมโยงเว็บเพจไม่มาก ที่มีความเกี่ยวข้องกับไฟล์ e-print ใน HTML, PDF, Word หรือในไฟล์รูปแบบอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็จะสามารถทำให้มีความซับซ้อนมากขึ้น ลิ้งค์ของ e-print มักจะอยู่ในรายการสิ่งพิมพ์ที่แยกออกต่างหากหรือรวมอยู่ใน Vita
ไฟล์ของเว็บไซต์มักจะจัดทำดัชนีในเครื่องมือ search engine ซึ่งจะเป็นประโยชน์ถ้ามีการค้นหาข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับความต้องการด้านการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ยกตัวอย่างเช่น ชื่อเรื่อง นับตั้งแต่การย้ายที่ทำงานของผู้เขียน จนกระทั่งตาย ความมั่นคงของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะเป็นตัวแปรที่ช่วยให้เกิดความมั่นใจในตัวของผู้เขียน และผู้เขียนสามารถจัดการ นำเข้า และปรับปรุงบทความได้ตลอด
ข้อดี คือ สามารถเข้าถึงได้ง่ายเพราะ Google สามารถค้นหาได้ และเหมาะที่จะเผยแพร่ E-print ที่สำคัญอย่าลืมใส่ licence ด้วย
Self-Archiving Copyright Practices
แม้ว่าสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์จะสามารถเข้าใช้ได้อย่างเสรี ซึ่งผู้เขียนอาจไม่ได้ปฏิบัติตามประกาศลิขสิทธิ์หรือใบอนุญาต อาจเป็นเพราะ
1. ไม่มีคำสั่งด้านลิขสิทธิ์
2. คำสั่งลิขสิทธิ์แบบทั่วไป
3. คำสั่งลิขสิทธิ์ที่มีการแก้ไขโดยบทบัญญัติการใช้งานเฉพาะ (เช่นการใช้เสรีนิยมได้รับอนุญาตเพื่อ
วัตถุประสงค์ในการค้า)
4. Creative Commons ที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในเชิงพาณิชย์ หรืองานดัดแปลง
5. รูปแบบอื่น
2. Disciplinary Archives:
การจัดเก็บเอกสารประเภทนี้มักจะทำในระดับมหาวิทยาลัย หรือสถาบัน หรือการรวมตัวกันของสถาบันภายนอก จะเจาะจงเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง ซึ่งจะเป็นรวมสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ สิ่งพิมพ์ประเภทอื่นๆที่เป็นงานแบบดิจิทัล โดยผู้เขียนจากทั่วโลก หรืออาจจะเป็นประเทศใดประเทศหนึ่งก็ได้ ซึ่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ในประเทศสหรัฐอเมริกามีนโยบายที่จะส่งเสริมให้นักวิจัยจะต้องนำผลงานการวิจัยของพวกเขาไปจัดเก็บไว้ใน PubMed Central แต่ไม่ได้ทำให้มันเป็นสิ่งจำเป็นแต่อย่างไรก็ตามข้อมูลนั้นจะสามารถนำไปใช้ได้เพียงประมาณ 5% จากข้อมุลทั้งหมด เสถียรภาพและความคงทนของคลังเก็บข้อมูลเหล่านี้จะกำหนดโดยต้นสังกัดอย่างเป็นทางการกับสถาบันหรือองค์กรวิชาชีพของพวกเขา สำหรับเว็บไซต์ส่วนบุคคลมักจะนิยมใช้ open source software เช่น EPrints หรือ DSpace ซึ่งเป็นซอฟแวร์ที่เข้ายากมาก ยกตัวอย่างเช่น arXiv.org (a major disciplinary archive for computer science, mathematics, nonlinear sciences, physics, and quantitative biology)
3. Institutional-Unit Archives
เป็นการจัดเก็บข้อมูลของหน่วยงานย่อยๆภายใต้สถาบันนั้นๆ ตัวอย่างเช่น สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ของคณะมนุษยศาสตร์ จะจัดทำ IR ด้านบรรณารักษศาสตร์ของตนเอง เป็นต้น
เป็นเหมือน open source software และสามารถจัดทำในรูปแบบเดียวกันกับ disciplinary archives ตกตัวอย่างเช่น Duke Law Faculty Scholarship Repository (http://eprints.law.duke.edu)
4. Institutional Repositories
เป็น IR ของมหาวิทยาลัยที่ไม่เจาะจงสาขาวิชา อาจเป็นการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยหลายๆสถาบันร่วมมือกันจัดทำขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ดูแลก็คือ ห้องสมุด เพราะฉะนั้น ห้องสมุดจึงมีบทบาทอย่างมากในการสร้าง Institutional Repositories ให้เกิดขึ้น ซึ่งห้องสมุดอาจจะทำในลักษณะที่รวมทุกสาขาวิชา แต่สามารถจัดแยกได้
โดยนิยมใช้ open source software เช่น DSpace, EPrints หรือ Fedora นอกจากนี้ยังอาจมีการให้บริการ รับฝากเอกสาร การฝึกอบรม และการสนับสนุนผู้ใช้ด้วย ตัวอย่างเช่น DSpace at MIT (https://dspace.mit.edu/index.jsp.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น