วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Public Domain - CCO

สรุป Public Domain - CCO  ประจำวันพฤหัสบดี ที่ 23 มิ.ย. 54



สาธารณสมบัติ (Public Domain)

        ในกรณีที่ต้องการให้ผลงานนั้นปราศจากเงื่อนไขใดๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบผลงานให้กับสาธารณะผ่านทางครีเอทีฟคอมมอนส์ สามารถทำได้โดยการ ประกาศผลงานชิ้นนั้นให้เป็น Public domain หรือ สมบัติสาธารณะโดยภายใต้สัญลักษณ์    ซึ่งหมายความว่า ไม่ขอสงวนลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น

สาธารณสมบัติ หรือ Public domain ภายใต้กฎหมายไทย 
       ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้กำหนดไว้ว่า ลิขสิทธิ์จะคงอยู่หลังจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียชีวิต และนับไปอีก 50 ปี แต่ในกรณีไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์ผลงาน การสิ้นสุดลิขสิทธิ์จะคงอยู่ 50 ปีนับจากวันที่ตีพิมพ์ ส่วนงานที่เป็น ประยุกต์ศิลป์ ซึ่งหมายถึง งานที่ประกอบด้วยผลงานศิลปะประเภทต่างๆ เช่น รูปวาด รูปภาพ รูปปั้น ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ภาพถ่าย โครงร่าง และแบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ ผลงานประยุกต์ศิลป์ มีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปีหลังจากตีพิมพ์ การตีพิมพ์ใหม่ไม่เป็นการยืดอายุการคุ้มครองงาน สิ่งพิมพ์รัฐบาลเป็นสาธารณสมบัติ แต่งานที่สร้างสรรค์หรือผลิตโดยหน่วยงานของรัฐบาลจะมีการคุ้มครองลิขสิทธิ์  ทั้งนี้ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว ผลงานต่างๆ จะถือเป็น สาธารณสมบัติ (Public domain) ของประเทศไทย และอยู่ในการดูแลของรัฐบาลไทย สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของ หรือทายาทเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นๆ คนไทยสามารถนำไปทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์



Creative Common: CC


Creative Commons: CC คือ สัญญาอนุญาตนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายขอบข่ายของการใช้สื่อต่างๆ ให้กว้างขึ้นโดยไม่จำกัดที่สัญญาอนุญาตของสื่อนั้นๆ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม        ครีเอทีฟคอมมอนส์ก่อตั้งโดย  ลอว์เรนซ์ เลสสิก ซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดย โจอิจิ อิโต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิอื่นๆไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลากรูปแบบ ซึ่งรวมถึง การยกให้เป็นสาธารณสมบัติหรือสัญญาอนุญาตแบบเปิดทั้งหลาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ ในส่วนของครีเอทีฟคอมอนส์ประเทศไทย อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (ครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย, 2550)



      
การกำหนดเงื่อนไข ของ Creative Commons
การกำหนดเงื่อนไขหลักของ Creative Commons มีอยู่ 6 เงื่อนไข (Katz, 2006) ดังนี้ 
              1. เงื่อนไขแบบแสดงที่มา (Attribution) หรือ “by”ผู้เผยแพร่ต่อสามารถนำไปเผยแพร่ ทำสำเนาแจกจ่ายและดัดแปลงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของสารสนเทศนั้น แต่จะต้องระบุที่มาของสารสนเทศนั้น ตามที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้อนุญาตกำหนด
 ภาพที่ 1 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา 
(Creative Commons, n.d.) 


              2. แสดงที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า (Attribution-Noncommercial)หรือ “by-nc” เงื่อนไขนี้ผู้ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อสามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เจ้าของลิขสิทธิ์ แต่จะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า



ภาพที่ 2 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มาและไม่ใช้เพื่อการค้า
 (Creative Commons, n.d.)


               3. แสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และไม่แก้ไขต้นฉบับ (Attribution-Noncommercial -No Derivative Works) หรือ “by-nc-nd”  เงื่อนไขนี้อนุญาตให้ทุกคนทำซ้ำและเผยแพร่สารสนเทศนั้นได้ ตราบใดที่ไม่ดัดแปลงหรือตัดต่อสารสนเทศดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงที่มา










ภาพที่ 3 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และไม่แก้ไขต้นฉบับ
 (Creative Commons, n.d.)


              4. แสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และใช้อนุญาตแบบเดียวกัน (Attribution-Noncommercial- Share Alike) หรือ “by-nc-sa” หากมีการนำผลงานไปดัดแปลง ปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง หรือต่อเติมงาน จะต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกันหรือแบบที่เหมือนกับงานนี้เท่านั้น รวมถึงต้องระบุแหล่งที่มาของงาน และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าด้วย











ภาพที่ 4 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และใช้อนุญาตแบบเดียวกัน

 (Creative Commons, n.d.)


               5. แสดงที่มาและไม่ดัดแปลง (Attribution-No Derivative Works) หรือ “by-nd” ภายใต้เงื่อนไขนี้ ผู้นำไปเผยแพร่สามารถทำสำเนา แจกจ่าย และเผยแพร่งานนี้ต่อไปได้ แต่ไม่สามารถดัดแปลงงานได้ และจะต้องแสดงที่มาของงานนี้ 





ภาพที่ 5 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มาและไม่ดัดแปลง
 (Creative Commons, n.d.)


                  6. แสดงที่มาและอนุญาตแบบเดียวกัน (Attribution- Share Alike) หรือ “by-sa” ผู้เผยแพร่สามารถทำสำเนา แจกจ่าย และดัดแปลงงานดังกล่าวได้ แต่หากจะต้องดัดแปลงจะต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน หรือแบบที่เหมือนกับหรือที่เข้ากันได้กับสัญญาอนุญาตที่ใช้กับงานนี้เท่านั้น



ภาพที่ 6 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มาและอนุญาตแบบเดียวกัน
 (Creative Commons, n.d.)

คำศัพท์ที่ควรทราบ 
   1. Preprint
     เป็นเอกสารก่อนการจัดพิมพ์ซึ่งถูกเก็บอยู่ในรูปแบบของดิจิทัลมักจะนำไปเก็บอยู่ในเซิฟเวอร์ของคลังสารสนเทศสถาบันนั้นๆเพื่อเป็นการประหยัดเนื้อที่และสามารถจัดพิมพ์ทรัพยากรสารสนเทศได้เรื่อยๆ เพื่อที่จะให้สำนักพิมพ์ได้ใช้บทความไประยะหนึ่งก่อนคืนลิขสิทธิ์มาให้ผู้เขียนหนังสือ

   2. Postprint
     เป็นเอกสารฉบับสมบูรณ์ที่จะใช้ในการพิมพ์ อาจจะเป็นฉบับที่สำนักพิมพ์หรือฉบับปรับปรุงจาก preprint ที่ผู้เขียนทำการปรับปรุงระหว่างการได้รับการประเมินคุณภาพและอยู่ในระหว่างการตีพิมพ์

   3. Gray literature
     หมายถึง เอกสารที่ไม่ได้มีการตีพิมพ์โดยทั่วไป (หนังสือวารสาร) เช่น รายงานของหน่วยงาน หรือรายงานวิชาการ เอกสารการทำงาน (Working papers) เอกสารทางธุรกิจ (Business documents) หรือเอกสารอื่นๆที่มีการควบคุมคุณภาพโดยมีการพิจารณาก่อนการตีพิมพ์

   4. Errata/corrigenda
      เป็นการอัพเดทจาก preprints มีการนำข้อมูลใหม่มาปรับปรุงแก้ไข เอกสารที่ส่งใน IR สามารถปรับปรุงแก้ไขได้
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น