วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Gold OA หรือ OA Journal

สรุปการเรียนเรื่อง Gold OA ประจำวันพฤหัสบดีที่ 30 มิ.ย. 54

Gold OA: OA Journal
       เป็นวารสารที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระทันทีที่ส่งตีพิมพ์ การที่เรียก OA journal ว่าเป็น Gold OA เพราะว่าสามารถตอบปัญหาของ serial crisis ได้ว่าตัวราคาของวารสารที่สูงขึ้นนั้นทำให้ห้องสมุดไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะบอกรับวารสารมาเพื่อให้บริการ และไม่สามารถนำมาต่อยอดได้ ซึ่ง OA journal เป็นอิเล็กทรอนิกส์เจอนัลที่เป็นแหล่งข้อมูลซึ่งสามารถเข้าถึงได้สาธารณะ ที่ให้บริการในรูปแบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่
       แหล่งรวมรายชื่อวารสาร Gold OA ที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน คือ DOAJ (Directory of Open Access Journals) มีจำนวนวารสาร มากกว่า 5,138 ชื่อ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวารสาร gold OA จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่คิดเป็นเพียง 20% ของจำนวนวารสารวิชาการทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก (ข้อมูลจาก Ulrich’s Internatioanl Periodicals Directory 2010) ในฐานข้อมูล DOAJ มีวารสาร Gold OA สาขา social sciences มากถึง 39% รองลงมาคือ สาขา health sciences 24% สาขา physical sciences 20% และสาขา life sciences 14%



Open Access Journals
     ในแต่บะปีจะมีงานวิจัยอยู่ถึง 2.5 ล้าน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะนำไปลงในวารสาร ซึ่ง OA Journal จะไม่นับรวม gray literature ที่เป็นบทความหายาก แต่มีประโยชน์ เช่นเอกสารประจำสัมมนาต่างๆ หรือรายงานจำพวก voice papers ต่างๆ แต่จะนับแค่ research Article ที่นำมาลงในบทความวารสาร ซึ่งมีถึง 3.5 ล้านบทความ 
   
Open Access Journals
      จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
      1. ต้องเป็นวารสารวิชาการ เพราะวารสารวิชาการนั้นมักจะประกอบด้วยบทความทางวิชารการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ หรือบทความวิจารณ์หนังสือ 
      2. ต้องมีความน่าเชื่อถือ แม้ว่าจะเป็นบทความที่สามารถเจ้าถึงได้สาธารณะก็ตาม เช่น วารสารเชิงวิชาการ ซึ่งจะมีผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและประความน่าเชื่อถือ
      3. ต้องเป็นเอกสารที่อยู่ในรูปแบบติจิตอล เพื่อการประหยัดพื้นที่ งบประมาณ และการเข้าถึงที่รวดเร็ว ยั่งยืน
      4. ต้องเปิดให้เข้าถึงได้อย่างสาธารณะ
      5. ต้องอนุญาตให้ผู้เขียน retain copyright ได้ แต่ถ้าผู้เขียนไม่ต้องการ retain copyright ก็สามารถใช้  licenses Public domain ได้
      6. สามารถเลือกใช้ Creative commons หรือ licenses อื่นๆได้ เช่น BSC Document licenses, Pedia wiki licenses หรือ Apple commons document licenses เป็นต้น


ประเภทของ Open Access Journals Publisher
      1. Born-OA Publishers
     เป็นวารสารที่ไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน แต่คิดจะจัดทำให้วารสารนั้นเป็น OA จึงเรียกว่า Born-OA Publishers ส่วนใหญ่วารสารประเภทนี้เริ่มขึ้นในปี 2000 เริ่มแรกโดยกลุ่ม BioMed Central ซึ้งเป็น IR ด้วย ส่วนใหญ่เป็นวารสารประเภทที่ไม่หวังผลกำไรและมักจะใช้ license Commons creative กลุ่มวารสารที่เป็น Born OA เช่น www.irrodl.org, D-lib Magazine และ PLOS เป็นต้น
      2. Conventional Publishers
     เป็นวารสารเชิงพาณิชย์ เช่น วารสารสำนักพิมพ์ Springer link จะมีโปรแกรม Springer Open Choice Program เพื่อใช้ในการจัดทำวารสารให้เป็น OA และผู้ที่ประสงค์จะทำวารสารจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดทำด้วย ซึ่งวารสารกลุ่มนี้ก็มีนโยบายของ OA เช่นกัน
      3. Non-Traditional Publishers
     วารสารกลุ่มนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้ เป็นกลุ่มวารสารที่ไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งแม่ว่าจะอนุญาตให้ผู้เขียนสามารถ  retain copyrights ของพวกเขาได้ และใช้ข้อความลิขสิทธิ์ที่เป็น noncommercial ซึ่งเปิดให้มีการจัดการแหล่งข้อมูลวารสารและระบบการเผยแพร่ฟรี เช่น The Open Journal Systems ที่สามารถเข้าไปปรับปรุงได้ง่ายและทำการเผยแพร่วารสารดิจิตอลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหน่วยงานที่นิยมใช้วารสารประเภทนี้ ได้แก่ หน่วยงานทางวิชาการหรือโรงเรียน สถาบันการศึกษาและศูนย์การวิจัย ห้องสมุด และ สมาคมวิชาชีพนักวิชาการ เป็นต้น
    ยกตัวอย่างวารวารประเภทนี้ เช่น SCRIPT-ed: A Journal of Law and Technology



วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

OA Publishing

สรุป OA Publishing ประจำวันจันทร์ ที่ 27 มิ.ย. 54

Implementing open access (การนำเสนอ OA)
      1. Green OA: OA archives or repositories
           วารสารที่ตีพิมพ์ในวารสารของสำนักพิมพ์ทั่วไป แต่ผู้เขียนมีสิทธินำบทความมาจัดเก็บไว้ในเว็บไซต์ของตนเอง หรือ คลังความรู้องค์กร (Institutional Repository) เพื่อนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตต่อได้
      2. Gold OA: OA journals
          เป็นวารสารที่เปิดให้เข้าถึงบทความในเล่มอย่างอิสระทันทีที่ส่งตีพิมพ์ การที่เรียก OA journal ว่าเป็น Gold OA เพราะว่าสามารถตอบปัญหาของ serial crisis ได้ว่าตัวราคาของวารสารที่สุงขึ้นทำให้ห้องสมุดไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะซื้อมาใช้เพื่อให้บริการ และไม่สามารถนำมาต่อยยอดได้ ซึ่ง OA journal เป็นอิเล็กทรอนิกส์เจอนัลที่เป็นแหล่งข้อมูลซึ่งสามารถเข้าถึงได้สาธารณะ ที่ให้บริการในรูปแบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่

***OA journals conduct peer review and OA archives do not.

รูปแบบการนำเสนอ Green OA  Self-Archiving
      1. Author's Personal Websites
      2. Disciplinary Archives
      3.Institutional-Unit Archives
      4. Institutional Repositories

1. Author's Personal Websites
     
เป็นกน้าที่ของห้องสมุด หรือหน้าที่ของคณะที่ต้องสนับสนุนให้อาจารย์หรือนักวิจัยมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพราะพบว่าส่วนใหญ่อาจารย์ทั้งหลายมักจะเผยแพร่งานวิชาการของตัวเองลงบนเว็บไซต์ ซึ่ง   เว็บไซต์เหล่านี้มักจะทำได้ง่ายซึ่งมีการเชื่อมโยงเว็บเพจไม่มาก ที่มีความเกี่ยวข้องกับไฟล์ e-print ใน HTML, PDF, Word หรือในไฟล์รูปแบบอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็จะสามารถทำให้มีความซับซ้อนมากขึ้น ลิ้งค์ของ e-print มักจะอยู่ในรายการสิ่งพิมพ์ที่แยกออกต่างหากหรือรวมอยู่ใน Vita
ไฟล์ของเว็บไซต์มักจะจัดทำดัชนีในเครื่องมือ search engine ซึ่งจะเป็นประโยชน์ถ้ามีการค้นหาข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับความต้องการด้านการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ยกตัวอย่างเช่น ชื่อเรื่อง นับตั้งแต่การย้ายที่ทำงานของผู้เขียน จนกระทั่งตาย ความมั่นคงของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะเป็นตัวแปรที่ช่วยให้เกิดความมั่นใจในตัวของผู้เขียน และผู้เขียนสามารถจัดการ นำเข้า และปรับปรุงบทความได้ตลอด
       ข้อดี คือ สามารถเข้าถึงได้ง่ายเพราะ Google สามารถค้นหาได้ และเหมาะที่จะเผยแพร่ E-print ที่สำคัญอย่าลืมใส่ licence ด้วย

Self-Archiving Copyright Practices
     แม้ว่าสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์จะสามารถเข้าใช้ได้อย่างเสรี ซึ่งผู้เขียนอาจไม่ได้ปฏิบัติตามประกาศลิขสิทธิ์หรือใบอนุญาต อาจเป็นเพราะ
     1. ไม่มีคำสั่งด้านลิขสิทธิ์
     2. คำสั่งลิขสิทธิ์แบบทั่วไป
     3. คำสั่งลิขสิทธิ์ที่มีการแก้ไขโดยบทบัญญัติการใช้งานเฉพาะ (เช่นการใช้เสรีนิยมได้รับอนุญาตเพื่อ
         วัตถุประสงค์ในการค้า)
     4. Creative Commons ที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในเชิงพาณิชย์ หรืองานดัดแปลง
     5. รูปแบบอื่น


2. Disciplinary Archives:
     การจัดเก็บเอกสารประเภทนี้มักจะทำในระดับมหาวิทยาลัย หรือสถาบัน หรือการรวมตัวกันของสถาบันภายนอก จะเจาะจงเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง ซึ่งจะเป็นรวมสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ สิ่งพิมพ์ประเภทอื่นๆที่เป็นงานแบบดิจิทัล โดยผู้เขียนจากทั่วโลก หรืออาจจะเป็นประเทศใดประเทศหนึ่งก็ได้ ซึ่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ในประเทศสหรัฐอเมริกามีนโยบายที่จะส่งเสริมให้นักวิจัยจะต้องนำผลงานการวิจัยของพวกเขาไปจัดเก็บไว้ใน PubMed Central แต่ไม่ได้ทำให้มันเป็นสิ่งจำเป็นแต่อย่างไรก็ตามข้อมูลนั้นจะสามารถนำไปใช้ได้เพียงประมาณ 5% จากข้อมุลทั้งหมด เสถียรภาพและความคงทนของคลังเก็บข้อมูลเหล่านี้จะกำหนดโดยต้นสังกัดอย่างเป็นทางการกับสถาบันหรือองค์กรวิชาชีพของพวกเขา สำหรับเว็บไซต์ส่วนบุคคลมักจะนิยมใช้ open source software เช่น EPrints หรือ DSpace ซึ่งเป็นซอฟแวร์ที่เข้ายากมาก ยกตัวอย่างเช่น  arXiv.org (a major disciplinary archive for computer science, mathematics, nonlinear sciences, physics, and quantitative biology)

3. Institutional-Unit Archives
     เป็นการจัดเก็บข้อมูลของหน่วยงานย่อยๆภายใต้สถาบันนั้นๆ ตัวอย่างเช่น สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ ของคณะมนุษยศาสตร์ จะจัดทำ IR ด้านบรรณารักษศาสตร์ของตนเอง เป็นต้น
เป็นเหมือน open source software และสามารถจัดทำในรูปแบบเดียวกันกับ disciplinary archives ตกตัวอย่างเช่น Duke Law Faculty Scholarship Repository (http://eprints.law.duke.edu)      
 
4. Institutional Repositories
     เป็น IR ของมหาวิทยาลัยที่ไม่เจาะจงสาขาวิชา อาจเป็นการร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยหลายๆสถาบันร่วมมือกันจัดทำขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ดูแลก็คือ ห้องสมุด เพราะฉะนั้น ห้องสมุดจึงมีบทบาทอย่างมากในการสร้าง Institutional Repositories ให้เกิดขึ้น ซึ่งห้องสมุดอาจจะทำในลักษณะที่รวมทุกสาขาวิชา แต่สามารถจัดแยกได้
โดยนิยมใช้ open source software เช่น DSpace, EPrints หรือ Fedora นอกจากนี้ยังอาจมีการให้บริการ รับฝากเอกสาร การฝึกอบรม และการสนับสนุนผู้ใช้ด้วย ตัวอย่างเช่น DSpace at MIT (https://dspace.mit.edu/index.jsp.)




วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Public Domain - CCO

สรุป Public Domain - CCO  ประจำวันพฤหัสบดี ที่ 23 มิ.ย. 54



สาธารณสมบัติ (Public Domain)

        ในกรณีที่ต้องการให้ผลงานนั้นปราศจากเงื่อนไขใดๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบผลงานให้กับสาธารณะผ่านทางครีเอทีฟคอมมอนส์ สามารถทำได้โดยการ ประกาศผลงานชิ้นนั้นให้เป็น Public domain หรือ สมบัติสาธารณะโดยภายใต้สัญลักษณ์    ซึ่งหมายความว่า ไม่ขอสงวนลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น

สาธารณสมบัติ หรือ Public domain ภายใต้กฎหมายไทย 
       ตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้กำหนดไว้ว่า ลิขสิทธิ์จะคงอยู่หลังจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียชีวิต และนับไปอีก 50 ปี แต่ในกรณีไม่ปรากฏผู้สร้างสรรค์ผลงาน การสิ้นสุดลิขสิทธิ์จะคงอยู่ 50 ปีนับจากวันที่ตีพิมพ์ ส่วนงานที่เป็น ประยุกต์ศิลป์ ซึ่งหมายถึง งานที่ประกอบด้วยผลงานศิลปะประเภทต่างๆ เช่น รูปวาด รูปภาพ รูปปั้น ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม ภาพถ่าย โครงร่าง และแบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้ ผลงานประยุกต์ศิลป์ มีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปีหลังจากตีพิมพ์ การตีพิมพ์ใหม่ไม่เป็นการยืดอายุการคุ้มครองงาน สิ่งพิมพ์รัฐบาลเป็นสาธารณสมบัติ แต่งานที่สร้างสรรค์หรือผลิตโดยหน่วยงานของรัฐบาลจะมีการคุ้มครองลิขสิทธิ์  ทั้งนี้ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้ว ผลงานต่างๆ จะถือเป็น สาธารณสมบัติ (Public domain) ของประเทศไทย และอยู่ในการดูแลของรัฐบาลไทย สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของ หรือทายาทเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นๆ คนไทยสามารถนำไปทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์



Creative Common: CC


Creative Commons: CC คือ สัญญาอนุญาตนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อขยายขอบข่ายของการใช้สื่อต่างๆ ให้กว้างขึ้นโดยไม่จำกัดที่สัญญาอนุญาตของสื่อนั้นๆ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม        ครีเอทีฟคอมมอนส์ก่อตั้งโดย  ลอว์เรนซ์ เลสสิก ซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดย โจอิจิ อิโต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิบางส่วนหรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิอื่นๆไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลากรูปแบบ ซึ่งรวมถึง การยกให้เป็นสาธารณสมบัติหรือสัญญาอนุญาตแบบเปิดทั้งหลาย โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ ในส่วนของครีเอทีฟคอมอนส์ประเทศไทย อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (ครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย, 2550)



      
การกำหนดเงื่อนไข ของ Creative Commons
การกำหนดเงื่อนไขหลักของ Creative Commons มีอยู่ 6 เงื่อนไข (Katz, 2006) ดังนี้ 
              1. เงื่อนไขแบบแสดงที่มา (Attribution) หรือ “by”ผู้เผยแพร่ต่อสามารถนำไปเผยแพร่ ทำสำเนาแจกจ่ายและดัดแปลงได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของสารสนเทศนั้น แต่จะต้องระบุที่มาของสารสนเทศนั้น ตามที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้อนุญาตกำหนด
 ภาพที่ 1 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา 
(Creative Commons, n.d.) 


              2. แสดงที่มา และไม่ใช้เพื่อการค้า (Attribution-Noncommercial)หรือ “by-nc” เงื่อนไขนี้ผู้ที่จะนำไปเผยแพร่ต่อสามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เจ้าของลิขสิทธิ์ แต่จะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า



ภาพที่ 2 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มาและไม่ใช้เพื่อการค้า
 (Creative Commons, n.d.)


               3. แสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และไม่แก้ไขต้นฉบับ (Attribution-Noncommercial -No Derivative Works) หรือ “by-nc-nd”  เงื่อนไขนี้อนุญาตให้ทุกคนทำซ้ำและเผยแพร่สารสนเทศนั้นได้ ตราบใดที่ไม่ดัดแปลงหรือตัดต่อสารสนเทศดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงที่มา










ภาพที่ 3 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และไม่แก้ไขต้นฉบับ
 (Creative Commons, n.d.)


              4. แสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และใช้อนุญาตแบบเดียวกัน (Attribution-Noncommercial- Share Alike) หรือ “by-nc-sa” หากมีการนำผลงานไปดัดแปลง ปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง หรือต่อเติมงาน จะต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกันหรือแบบที่เหมือนกับงานนี้เท่านั้น รวมถึงต้องระบุแหล่งที่มาของงาน และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าด้วย











ภาพที่ 4 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และใช้อนุญาตแบบเดียวกัน

 (Creative Commons, n.d.)


               5. แสดงที่มาและไม่ดัดแปลง (Attribution-No Derivative Works) หรือ “by-nd” ภายใต้เงื่อนไขนี้ ผู้นำไปเผยแพร่สามารถทำสำเนา แจกจ่าย และเผยแพร่งานนี้ต่อไปได้ แต่ไม่สามารถดัดแปลงงานได้ และจะต้องแสดงที่มาของงานนี้ 





ภาพที่ 5 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มาและไม่ดัดแปลง
 (Creative Commons, n.d.)


                  6. แสดงที่มาและอนุญาตแบบเดียวกัน (Attribution- Share Alike) หรือ “by-sa” ผู้เผยแพร่สามารถทำสำเนา แจกจ่าย และดัดแปลงงานดังกล่าวได้ แต่หากจะต้องดัดแปลงจะต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน หรือแบบที่เหมือนกับหรือที่เข้ากันได้กับสัญญาอนุญาตที่ใช้กับงานนี้เท่านั้น



ภาพที่ 6 สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มาและอนุญาตแบบเดียวกัน
 (Creative Commons, n.d.)

คำศัพท์ที่ควรทราบ 
   1. Preprint
     เป็นเอกสารก่อนการจัดพิมพ์ซึ่งถูกเก็บอยู่ในรูปแบบของดิจิทัลมักจะนำไปเก็บอยู่ในเซิฟเวอร์ของคลังสารสนเทศสถาบันนั้นๆเพื่อเป็นการประหยัดเนื้อที่และสามารถจัดพิมพ์ทรัพยากรสารสนเทศได้เรื่อยๆ เพื่อที่จะให้สำนักพิมพ์ได้ใช้บทความไประยะหนึ่งก่อนคืนลิขสิทธิ์มาให้ผู้เขียนหนังสือ

   2. Postprint
     เป็นเอกสารฉบับสมบูรณ์ที่จะใช้ในการพิมพ์ อาจจะเป็นฉบับที่สำนักพิมพ์หรือฉบับปรับปรุงจาก preprint ที่ผู้เขียนทำการปรับปรุงระหว่างการได้รับการประเมินคุณภาพและอยู่ในระหว่างการตีพิมพ์

   3. Gray literature
     หมายถึง เอกสารที่ไม่ได้มีการตีพิมพ์โดยทั่วไป (หนังสือวารสาร) เช่น รายงานของหน่วยงาน หรือรายงานวิชาการ เอกสารการทำงาน (Working papers) เอกสารทางธุรกิจ (Business documents) หรือเอกสารอื่นๆที่มีการควบคุมคุณภาพโดยมีการพิจารณาก่อนการตีพิมพ์

   4. Errata/corrigenda
      เป็นการอัพเดทจาก preprints มีการนำข้อมูลใหม่มาปรับปรุงแก้ไข เอกสารที่ส่งใน IR สามารถปรับปรุงแก้ไขได้
           

ดัชนีวิเคราะห์คุณภาพผลงานวิชาการ

 สรุป ดัชนีวิเคราะห์คุณภาพผลงานวิชาการ ประจำวันจันทร์ ที่ 20 มิ.ย. 54


ดัชนีวิเคราะห์คุณภาพผลงานวิชาการ

Impact Factor 
          เป็นการวัดค่าความถี่ของการอ้างอิงบทความวารสารในแต่ละปี ซึ่งก็คือความถี่ที่บทความในวารสารนั้นได้รับการอ้างอิง หรือถูกนำไปใช้ 
          ค่า Impact Factor เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการประเมินคุณภาพเปรียบเทียบและจัดอันดับวารสาร ช่วยประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการจัดหาและบอกรับวารสารของห้องสมุด ใช้ประเมินคุณภาพของสถาบันการศึกษา เนื่องจากค่า Impact Factor สามารถใช้ในการบ่งบอกถึง คุณภาพของบทความวิจัยที่ตีพิมพ์โดยนักวิจัยในสถาบันต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
          ค่า Impact Factor และอันดับของวารสารมักมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนการอ้างอิงในแต่ละปีด้วย  การใช้ค่า Impact Factor กับการประเมินคุณภาพนักวิจัย หรือผลงานวิจัยนั้นเพียงค่าเดียวอาจไม่สามารถตัดสินได้ จึงควรพิจารณาเกณฑ์อื่นควบคู่ไปด้วย เช่น จำนวนครั้งที่แต่ละบทความได้รับการอ้างอิงจากบทความอื่น (Citation Frequency) เป็นต้น  เพราะการที่มีการตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Impact Factor สูงๆ ไม่ได้หมายความว่าบทความนั้นจะได้รับการอ้างอิงสูงไปด้วย เช่นเดียวกัน บทความที่ได้รับการอ้างอิงสูงก็อาจตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Impact Factor ต่ำก็ได้ หรือบทความที่อยู่ในวารสารที่มีค่า Impact Factor สูง ก็ไม่ได้หมายความว่าบทความนั้นมีการอ้างอิงมาก ค่าที่สูงอาจมาจากบทความอื่นๆในวารสารนั้นก็เป็นได้

Referenced from: http://www.docstoc.com


แสดงค่า h-indexของ 6 ประเทศกลุ่มอาเซียน ของปี2009
                                   Referenced from: http://www.stks.or.th (สวทช)

h-index  
       เป็นค่าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการอ้างถึง(Citation) กับลำดับความนิยมของบทความที่ถูกอ้างถึง ค่า h-index จะวัดจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ และการอ้างอิงของบทความเหล่านั้น จำนวนบทความมากก็จะมีค่า h-index สูง จะต้องมีบทความที่ได้รับการอ้างอิงสูงด้วย
       ตัวอย่างเช่น นักวิจัยท่านหนึ่ง มีค่า h index = 17 หมายความว่า นักวิจัยท่านนั้น มีผลงานวิจัยจำนวน 17 บทความ (จากจำนวนทั้งหมด) ที่ได้รับการอ้างอิง 17 ครั้งหรือมากกว่า

Citation Frequency 
       หมายถึงจำนวนครั้งที่บทความแต่ละบทความได้รับการอ้างอิง ซึ่งมีผลโดยตรงกับคุณภาพนักวิจัย แสดงให้เห็นว่าบทความหรือผลงานของนักวิจัยท่านนั้น ได้ถูกนำไปใช้อ้างอิงถึงมากน้อยเพียงใด
Journal Immediacy Index 
       เป็นดัชนีเปรียบเทียบความเร็วที่บทความของวารสารนั้นถูกอ้างอิงถึง (A measure of how quickly the “average article” in a particular journal is cited) แต่มีข้อสังเกตว่า วารสารที่ตีพิมพ์ตอนต้นปี จะได้เปรียบวารสารที่ตีพิมพ์ตอนปลายปี และวารสารที่ออกรายสัปดาห์ หรือรายเดือน จะได้เปรียบวารสารที่ออกราย 3 เดือน หรือราย 6 เดือน 


Video บรรยายพิเศษ เรื่อง Impact factor


ลิขสิทธ์
       เหตุผลพื้นฐานที่กฎหมายให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ก็เพราะว่าผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นมา  โดยการสร้างสรรค์นั้นต้องใช้สติปัญญาและความสามารถ  ผู้สร้างสรรค์จึงต้องได้รับความคุ้มครองจากการที่บุคคลอื่นจะนำงานนั้นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต  เพราะหากไม่ให้ความคุ้มครองเสียแล้วย่อมทำให้ไม่มีแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ  
       จากเหตุผลข้างต้น  ผู้เขียนหนังสือ/บทความ ข้อเขียน ซึ่งสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะวรรณกรรม  จึงเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในหนังสือหรือตำรา ข้อเขียน ที่แต่งหรือเรียบเรียงขึ้นนั้น  บุคคลใดทำซ้ำ ดัดแปลง เอกสารที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์มีความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา

กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย
      กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย เป็นกฎหมายที่ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2537 กำหนดงานที่ได้รับความคุ้มครอง อันได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภท วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2537)

ขอบเขตคุ้มครองงานสร้างสรรค์
     1.ทำซ้ำหรือดัดแปลง
     2.เผยแพร่ต่อสาธารณชน
     3.ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
     4.ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
     5.อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้น โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ก็ได้ แต่
        เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการ แข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้ 



ระยะเวลาที่ให้ความคุ้มครอง
       เดิม  50 ปี ปัจจุบัน 70 ปี ต่ำสุด สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับผลงานองค์กร คุ้มครองระยะเวลาได้ถึง 120 ปี เนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนอายุการคุ้มครองเพิ่มขึ้น เพราะมีกฏหมายปี 1998 Sonny Bono Copyright Term Extension Act (CTEA) ได้เพิ่มอายุคุ้มครองจาก 50 ปี เป็นอีก 20 ปี


การให้บริการของห้องสมุด
      ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตราที่ 34 ที่ว่าด้วย การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ ไม่ได้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แล้วแต่ก็ควรคำนึงถึงหลักการใช้บนหลักของการใช้งานโดยธรรม (Fair Use) 

ลิขสิทธิ์โดยธรรม ห้องสมุด  2537
      หลักการใช้งานลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมด้วยการทำซ้ำ  โดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด  ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้  มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร  ในกรณีดังต่อไปนี้
1)  การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
2)  การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา

***จำนวนที่ทำซ้ำตาม 1) และ 2)  ต้องไม่เกินจำนวนที่จำเป็น  โดยคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย

DCMA (Digital Millennium Copyright Act)
   
1. คุ้มครองเจ้าของสิทธิให้สามารถควบคุมการใช้ข้อมูลดิจิตอลที่ตนครองสิทธิอยู่
    2. การควบคุม digital files บน single computer ส่วนตัว
    3. ทำได้โดยไม่ละเมิด “Privacy Privacy”
    4. โอนไฟล์ให้เพื่อนได้ตามสิทธิ First sale แต่เครื่องของเพื่อนเปิดไฟล์ไม่ได้
    5. ควบคุมให้ทำสำเนา พิมพ์ หรือดาวน์โหลด
    6. การทำสำเนาบางส่วนเพื่อใช้ในห้องเรียนตามหลัก Fair use จึงทำไม่ได้ต้องยกเครื่องคอมพิวเตอร์    ของตนไปเปิดใช้เท่านั้น

Contract Law, Media Ownership 
การคลิกยอมรับเงื่อนไขการใช้ก่อนจึงจะเปิดไฟล์ดิจิตอลที่ซื้อได้ 
    - ถ้าเงื่อนไขระบุว่าห้ามผู้ซื้อทำสำเนาไม่ว่ากรณีใดๆ 

หลัก Fair use เป็นอันหมดไป
    - ถ้าเงื่อนไขระบุว่าห้ามผู้ซื้อโอนสิทธินั้นไปให้บุคคลที่สาม 

สิทธิของ First sale เป็นอันหมดไป
    - บางข้อตกลงระบุห้ามไม่ให้ตีพิมพ์บทวิจารณ์ผลการใช้ซอฟท์แวร์หากไม่ไบาได้ด้อนุญาตจากผู้ขาย เป็นความตกลงยินยอมระหว่างคู่สัญญา

ผลกระทบต่อห้องสมุด 
    1. สำนักพิมพ์เลือกที่จะผลิตวารสารวิชาการในรูปอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น มากขึ้น 
    2. มีการควบซื้อกิจการ สารสนเทศทางวิชาการอยู่ในมือเจ้าของไม่กี่ราย
    3. ราคาสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และหนังสือสูงขึ้นมาก 
    4. หากหยุดต่ออายุจะเข้าใช้วารสารที่เคยบอกรับไม่ได้เลย 
    5. ย้ายสำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์หยุดดำเนินการ ขาดความมั่นคงในสิทธิเข้าใช้

ผลกระทบต่อผู้ใช้ 
    1. การลดจำนวนบอกรับวารสารวิชาการมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อนักการ ศึกษาวิจัย 
    2. มีผลกระทบต่อบุคคลทั่วไปด้วยแม้มิใช่นักวิชาการ 
    3. การใช้ e-Book มีปัญหาเดียวกันถ้าไม่สามารถเข้าใช้ได้ตลอดไป
    4. ปัญหาการถูกบังคับให้ต้องซื้อหรือบอกรับเป็น PackagePackage
    5. ปัญหาในข้อจำกัดการเข้าใช้ e-Book เล่มที่ได้รับความนิยม 

ปริมาณที่ถือว่าใช้อย่างเหมาะสม ที่ถือปฏิบัติกัน
    - หนังสือ : หนึ่งบท
    - นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ : หนึ่งบทความ (ยกเว้นมีหลายบทความที่มีเรื่องราวเกี่ยวเนื่องกัน)
    - เรื่องราวสั้น, ความเรียงสั้น ๆ , บทกวีสั้น : หนึ่งเรื่อง
    - แผนภูมิกราฟ, แผนภาพ, ภาพวาด, การ์ตูนหรือภาพจากหนังสือ : หนึ่งรูป
    - สื่อภาพเคลื่อนไหว : 10% หรือ 3 นาทีแล้วแต่อันไหนจะน้อยกว่า
    - Text: 10% หรือ 1,000 คำแล้วแต่อันไหนจะน้อยกว่า
    - เพลงวิดีโอเพลง : -- 10% แต่ไม่เกิน 30 วินาที
    - ภาพประกอบและรูปถ่าย : ไม่เกิน 5 ภาพโดยศิลปิน
                                      ไม่เกิน 10% หรือ 15 ภาพจากหนึ่งสำนักพิมพ์
    - ฐานข้อมูลหรือตารางข้อมูล : 10% หรือ 2,500 รายการ
    - บันทึกวิดีโอออกจากอากาศในห้องเรียน : อาจจะถูกเก็บไว้สำหรับ 45 วัน อาจจะแสดงเฉพาะภายใน      10 วันแรกหรือเพียงสองครั้งสำเนาซ้ำอาจจะทำถ้ามีการร้องขอโดยครูผู้สอนหลาย


หลักการใช้งานโดยธรรม (Fair use)
      หลักการใช้งานโดยธรรมเป็นถ้อยคำในกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา  กล่าวคือ การอนุญาตให้ ทำสำเนา งานที่มีลิขสิทธิ์ ในจำนวนจำกัด เพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิจัย การทำสำเนาเพื่อวัตถุประสงค์ใช้ในการวิจารณ์ รายงานข่าว ใช้ในการสอน (รวมถึงการทำสำเนาหลายชุดเพื่อใช้ในห้องเรียน) งานวิชาการ หรืองานวิจัย ไม่ถือว่าละเมิดต่อกฎหมายลิขสิทธิ์ และไม่ต้องขออนุญาต ดังที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 หมวดที่ 1 ส่วนที่ 6 ว่าด้วยข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ (ไชยยศ เหมะรัชตะ, 2541)


 ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา “ Fair use” 
       1. ปัจจัยในการพิจารณาการใช้งานโดยธรรม หรือ Fair use ขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ประการ ดังนี้ 
       2. พิจารณาวัตถุประสงค์ และลักษณะการใช้ จะต้องพิจารณาว่านำผลงานไปใช้ใช้เพื่อการค้าหรือ 
           เพื่อการศึกษาที่ไม่แสวงผลกำไร หรือไม่ หากนำไปใช้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า หรือแสวงหา
           ผลกำไร จะไม่ถือว่าเป็นการใช้โดยธรรม
       3. ลักษณะของผลงานที่สงวนลิขสิทธิ์ การใช้งานในบางลักษณะสามารถทำได้โดยไม่ต้องขอ
           อนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะถือว่าเป็นการใช้งานโดยธรรม เช่น การใช้เพื่อการศึกษา การใช้
           เพื่อการเรียนการสอน เป็นต้น 
       4. ปริมาณส่วนที่ใช้เมื่อเทียบกับผลงานที่สงวนลิขสิทธิ์ผลงานนั้น กล่าวคือ การนำผลงานต่างๆมาใช้  
           เช่น การทำสำเนาผลงานจะต้องกำหนดปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนถึงสิทธิอัน
           ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
       5. ผลกระทบอันอาจจะมีต่อแนวโน้มของตลาดหรือมูลค่าของงานที่ได้รับ การสงวนลิขสิทธิ์ การ
           พิจารณาถึงผลกระทบ

มาเรียนรู้แบบไม่เครียดกันจร้าา!!


Sing along to understand copyright and learn about your rights to fair use.




This is an enhanced podcast to educate folks on what copyright law and fair

อันนี้ค่อนข้างวิชาการหน่อยนะจร้า 



           วิดีโอสัมภาษณ์ Maggie Lange ทนายความและศาสตราจารย์ของธุรกิจดนตรี และการจัดการที่วิทยาลัยดนตรี Berklee เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์




วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

16 มิ.ย. 54 Open Access (OA)

Open access หรือ OA คือ อะไร?
       เป็นเอกสารดิจิตอลที่สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี ในรูปแบบของออนไลน์ที่สามารถเข้าใช้ได้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธิ์และใบอนุญาต
        open access เปิดให้ใช้บริการฟรีบนอินเทอร์เน็ต ที่อนุญาตให้ใครก็ได้สามารถเข้าไปอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์เผยแพร่ ค้นหา หรือทำการเชื่อมโยงไปยังบทความฉบับเต็ม หรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยต้องไม่มีเรื่องการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง
       มีข้อจำกัดเฉพาะในการทำสำเนาและการจัดจำหน่ายโดยเฉพาะบทความที่มีลิขสิทธิ์ ควรที่จะให้เกียรติแก่ผู้เขียนในการนำผลงานของเขาไปใช้และสิทธิที่จะได้รับการยอมรับอย่างถูกต้อง ดังนั้นจึงควรทำการอ้างอิงผลงานของเขาด้วย


Video-What is Open Access, Anyhow?



พัฒนาการที่ทำให้เกิด Open access   

      1. E - Publishing (สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์)
                การเกิดสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ส่งผลให้ Open access มีพัฒนาการขึ้น เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศมีนั้นจำนวนมากจึงทำให้เกิดสิ่งพิมพ์ที่อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งง่ายต่อการเก็๋บและประหยัดพื้นที่มากกว่าเอกสารที่อยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ธรรมดา จึงทำให้มีการเผยแพร่ สิ่งพิมพ์อิเล็กนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และกลายเป็นเอกสารสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เปรียบเสมือนการแบ่งปันสารสนเทศเพื่อให้ความรู้แก่คนทั่วโลก
       2. The internet
                 อินเทอร์เน็ตนั้นเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิด Open access เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่สามารถเชื่อมโยง และถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้ในการเผยแพร่สารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างง่ายดาย และกระจายไปอย่างรวดเร็ว
       3.The prices of journals
                 ราคาของวารสาร ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนทำให้เกิด Open access ขึ้น เนื่องจากปัจจุบันราคาสินค้าต่างๆ ได้เพิ่มสูงขึ้นจึงเป็นเหตุให้ราคาของวารสารเพิ่มขึ้นไปด้วย ซึ่งก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย และ lifestyle ของคนปัจจุบันก็ได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้คนจึงแสวงหาความสะดวกสบายมากขึ้น นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด Open access journal ขึ้นเพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา และเข้าถึงง่ายกว่าการอ่านแบบที่เป็นสิ่งพิมพ์ธรรมดา
แนวคิดที่ทำให้เกิด Open Acess (OA) ได้แก่
   1. Public Good 
   2. ตัวชี้วัดคุณภาพบทความวิจัย/วิชาการ  (Article Metric)
         2.1 Impact scholar
         2.2 Citation Frequency

Public Good 
       การวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากเงินของประชาชนที่ควรสามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ
การเขียนบทความเพื่อลงวารสารผู้เขียนจะไม่ได้รับค่าตอบแทน แตกต่างจากผู้เขียนหนังสือที่ผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธ์ หรือค่าสัมปทานการพิมพ์ นอกจากนั้นผู้เขียนบทความยังต้องมอบลิขสิทธ์ของบทความวารสารก่อนพิมพ์ให้กับผู้จัดทำวารสาร ประโยชน์ที่จะได้สำหรับผู้เขียน คือ การสามารถพัฒนาความรู้ และได้รับการเลื่อนขั้น ตำแหน่ง หรือ ต่อสัญญาการทำงานจากสถาบัน
       ต่อมาได้เกิดแนวคิดในกลุ่มนักวิชาการที่ต้องการเผยแพร่บทความวิจัย/วิชาการให้เป็นสาธารณะ ด้วยเห็นว่า ทุนที่ได้รับในการวิจัยจากสถาบัน หรือรัฐ เป็นเงินที่ได้มาจากภาษีของประชาชน  ในขณะที่งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และ นำไปเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม 
       การที่วารสารผูกขาดด้านลิขสิทธ์ทำให้สังคมไม่สามารถได้รับองค์ความรู้ทันสมัยและพัฒนาต่อยอดความรู้ได้ทันที นอกจากนั้นการเผยแพร่เป็นสาธารณะจะสามารถกระทำได้ง่ายในปัจจุบันบนอินเทอร์เน็ตในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นควรมีการเปิดเอกสารวิจัยเป็นสาธารณะเพื่อส่งเสริมสนับสนุนความเป็นสังคมแห่งองค์ความรู้ที่สามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว(Public Good) 




13 มิ.ย.54 , E-Publishing

สรุป E-Publishing ประจำวันที่ 13 มิ.ย. 54


Conventional E Publishing Models

1. Commercial e-publishers:  ผู้จัดพิมพ์เชิงพาณิชย์
       เป็นผู้จัดพิมพ์รายใหญ่ ซึ่งการพิมพ์ประเภทนี้ผู้เขียนจะไม่เสียค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนการผลิตให้แก่ผู้จัดพิมพ์ และผู้เขขัยนยังจะได้รับค่าส่วนแบ่งจากค่าลิขสิทธิ์ 40%

2. Subsidy Publishers: ผู้เขียนจ่ายเงินสนับสนุน
       ผู้จัดพิมพ์ประเภทนี้จะคิดค่าบริการต่างๆกับผู้เขียนที่เกี่ยวข้องในการผลิตและการตลาด คิดเป็นอัตรา $ 200 - $ 500 ต่อหนังสือหนึ่งเล่ม และผู้เขียนจะได้รับค่าลิขสิทธิ์ 20-50%

3. Self publishers: จัดทำเอง
       เป็นวิธีที่ผู้เขียนเลือกที่จะเป็นผู้ผลิตหรือทำการจัดพิมพ์เอง และจะได้รับผลประโยชน์ 100%เต็ม แต่ผลเสียก็คือผู้ผู้ผลิตไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้จริง อาจจะทำได้ให้ประสบความสำเร็จได้ยาก เนื่องจากมีการตลาดที่อยู่ในวงแคบ ไม่ค่อยมีใครรู้จัก เหมือนกับให้สำนักพิมพ์ใหญ่จัดการ เนื่องจากมีเครือค่ายที่มากกว่า

4. Distributors or resellers: ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้จำหน่าย 
       เหล่านี้เป็นร้านหนังสือที่ขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พวกเขาจะนำเสนอแพลตฟอร์มสำหรับผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหรือสิ่งพิมพ์สำหรับจัดพิมพ์ก่อนหน้านี้ที่จะใช้สำหรับขายเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และจะให้เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งแก่ผู้เขียน (20-30%) ของค่าสิทธินั้น โดยที่พวกเขาจะไม่คิดค่าใช้จ่ายกับผู้เขียน


กระบวนการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
       การพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ มีการใช้คอมพิวเตอร์ในทุกขั้นตอนของกระบวนการพิมพ์ ตั้งแต่ การเตรียมต้นฉบับ การออกแบบตัวอักษร สร้างภาพประกอบ จัดรูปหน้า ฯลฯ แล้วเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดี-รอม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้บุคคลเดียวกันสามารถทำหน้าที่ในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการพิมพ์ได้


Trend - e-Publishing
- มีการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์
- ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารน้อยลง
- มีลักษณะเปิดกล้วงทุกคนสามารถเข้าถึงได้
- มีประโยชน์ต่อการวิจัยและนักวิจัย ให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น


Trends: eBooks Now Outnumber Games on the iPhone /March 2, 2010




US Trade Wholesale Electronic Book Sales /February 18, 2010


 (Institutional Repository : IR)คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน
           หมายถึง คลังเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล อันเป็นภูมิปัญญาของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีการจัดเก็บเป็นศูนย์รวม มีการสงวนรักษา และมีการจัดทำดัชนีที่ได้มาตรฐาน สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นได้  หรือกล่าวได้ว่า คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันเป็นบริการหรือหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในการ จัดการและเผยแพร่งานในรูปแบบดิจิทัลอันเป็นผลงานหรือผลผลิตของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หรือสมาชิกในประชาคมนั้น ๆ และผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกสามารถเข้าถึงได้  ซึ่งผลงานเหล่านั้น นอกจากจะเป็นรายงานที่กำลังดำเนินงาน  รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ แล้ว ยังหมายรวมถึงงานที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ (grey literature) ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในวัฒนธรรมของการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องยากที่บรรณารักษ์ที่จะรวบรวม จัดเก็บ และสงวนรักษาไว้อย่างเป็นระบบ เพราะฉะนั้น สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานวิจัย ควรตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาหรือผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัยที่มีจำนวนมากขึ้น สมควรได้รับการจัดเก็บ และเผยแพร่ในรูปของดิจิทัล รวมทั้งการสงวนรักษาผลงานเหล่านั้นให้คงไว้ในระยะยาว (archiving) และถือเป็นบทบาทหลักของมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย ในการเผยแพร่ผลงานต่าง ๆ เหล่านี้ออกสู่โลกภายนอกให้เป็นที่ประจักษ์
(http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/484-institutional-repository: สวทช)


Repositories in context   คลังจัดเก็บ
  • เป็นการเพิ่มเติมจากสิ่งพิมพ์แบบดั้งเดิม
  • ไม่มีผลต่อกระบวนการการวิจัยสิ่งพิมพ์ในปัจจุบัน
  • ช่วยให้เข้าถึงได้ง่าย
  • ช่วยให้การเข้าถึงอย่างรวดเร็ว
  • ช่วยให้เข้าถึงได้ในระยะยาว
  • จำนวนผู้อ่านและการใช้วัสดุเพิ่มขึ้น
  • มีบริการเสริม
     - การนับสถิติการเข้าใช้
     - รายชื่อสิ่งพิมพ์ที่กำหนดเอง
    - การวิเคราะห์การอ้างอิงในเนื้อหา มีการนำเนื้อหาไปใช้ในการอ้างอิง