เป็นเอกสารดิจิตอลที่สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี ในรูปแบบของออนไลน์ที่สามารถเข้าใช้ได้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธิ์และใบอนุญาต
open access เปิดให้ใช้บริการฟรีบนอินเทอร์เน็ต ที่อนุญาตให้ใครก็ได้สามารถเข้าไปอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์เผยแพร่ ค้นหา หรือทำการเชื่อมโยงไปยังบทความฉบับเต็ม หรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยต้องไม่มีเรื่องการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง
มีข้อจำกัดเฉพาะในการทำสำเนาและการจัดจำหน่ายโดยเฉพาะบทความที่มีลิขสิทธิ์ ควรที่จะให้เกียรติแก่ผู้เขียนในการนำผลงานของเขาไปใช้และสิทธิที่จะได้รับการยอมรับอย่างถูกต้อง ดังนั้นจึงควรทำการอ้างอิงผลงานของเขาด้วย
Video-What is Open Access, Anyhow?
พัฒนาการที่ทำให้เกิด Open access
1. E - Publishing (สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์)
การเกิดสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ส่งผลให้ Open access มีพัฒนาการขึ้น เนื่องจากทรัพยากรสารสนเทศมีนั้นจำนวนมากจึงทำให้เกิดสิ่งพิมพ์ที่อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งง่ายต่อการเก็๋บและประหยัดพื้นที่มากกว่าเอกสารที่อยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ธรรมดา จึงทำให้มีการเผยแพร่ สิ่งพิมพ์อิเล็กนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และกลายเป็นเอกสารสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เปรียบเสมือนการแบ่งปันสารสนเทศเพื่อให้ความรู้แก่คนทั่วโลก
2. The internet
อินเทอร์เน็ตนั้นเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิด Open access เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่สามารถเชื่อมโยง และถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้ในการเผยแพร่สารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างง่ายดาย และกระจายไปอย่างรวดเร็ว
3.The prices of journals
ราคาของวารสาร ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนทำให้เกิด Open access ขึ้น เนื่องจากปัจจุบันราคาสินค้าต่างๆ ได้เพิ่มสูงขึ้นจึงเป็นเหตุให้ราคาของวารสารเพิ่มขึ้นไปด้วย ซึ่งก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย และ lifestyle ของคนปัจจุบันก็ได้เปลี่ยนแปลงไป ผู้คนจึงแสวงหาความสะดวกสบายมากขึ้น นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด Open access journal ขึ้นเพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา และเข้าถึงง่ายกว่าการอ่านแบบที่เป็นสิ่งพิมพ์ธรรมดา
แนวคิดที่ทำให้เกิด Open Acess (OA) ได้แก่
1. Public Good
2. ตัวชี้วัดคุณภาพบทความวิจัย/วิชาการ (Article Metric)
2.1 Impact scholar
2.2 Citation Frequency
Public Good
การวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากเงินของประชาชนที่ควรสามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ
การเขียนบทความเพื่อลงวารสารผู้เขียนจะไม่ได้รับค่าตอบแทน แตกต่างจากผู้เขียนหนังสือที่ผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธ์ หรือค่าสัมปทานการพิมพ์ นอกจากนั้นผู้เขียนบทความยังต้องมอบลิขสิทธ์ของบทความวารสารก่อนพิมพ์ให้กับผู้จัดทำวารสาร ประโยชน์ที่จะได้สำหรับผู้เขียน คือ การสามารถพัฒนาความรู้ และได้รับการเลื่อนขั้น ตำแหน่ง หรือ ต่อสัญญาการทำงานจากสถาบัน
ต่อมาได้เกิดแนวคิดในกลุ่มนักวิชาการที่ต้องการเผยแพร่บทความวิจัย/วิชาการให้เป็นสาธารณะ ด้วยเห็นว่า ทุนที่ได้รับในการวิจัยจากสถาบัน หรือรัฐ เป็นเงินที่ได้มาจากภาษีของประชาชน ในขณะที่งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่และ นำไปเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม
การที่วารสารผูกขาดด้านลิขสิทธ์ทำให้สังคมไม่สามารถได้รับองค์ความรู้ทันสมัยและพัฒนาต่อยอดความรู้ได้ทันที นอกจากนั้นการเผยแพร่เป็นสาธารณะจะสามารถกระทำได้ง่ายในปัจจุบันบนอินเทอร์เน็ตในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นควรมีการเปิดเอกสารวิจัยเป็นสาธารณะเพื่อส่งเสริมสนับสนุนความเป็นสังคมแห่งองค์ความรู้ที่สามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว(Public Good)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น