วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

13 มิ.ย.54 , E-Publishing

สรุป E-Publishing ประจำวันที่ 13 มิ.ย. 54


Conventional E Publishing Models

1. Commercial e-publishers:  ผู้จัดพิมพ์เชิงพาณิชย์
       เป็นผู้จัดพิมพ์รายใหญ่ ซึ่งการพิมพ์ประเภทนี้ผู้เขียนจะไม่เสียค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนการผลิตให้แก่ผู้จัดพิมพ์ และผู้เขขัยนยังจะได้รับค่าส่วนแบ่งจากค่าลิขสิทธิ์ 40%

2. Subsidy Publishers: ผู้เขียนจ่ายเงินสนับสนุน
       ผู้จัดพิมพ์ประเภทนี้จะคิดค่าบริการต่างๆกับผู้เขียนที่เกี่ยวข้องในการผลิตและการตลาด คิดเป็นอัตรา $ 200 - $ 500 ต่อหนังสือหนึ่งเล่ม และผู้เขียนจะได้รับค่าลิขสิทธิ์ 20-50%

3. Self publishers: จัดทำเอง
       เป็นวิธีที่ผู้เขียนเลือกที่จะเป็นผู้ผลิตหรือทำการจัดพิมพ์เอง และจะได้รับผลประโยชน์ 100%เต็ม แต่ผลเสียก็คือผู้ผู้ผลิตไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้จริง อาจจะทำได้ให้ประสบความสำเร็จได้ยาก เนื่องจากมีการตลาดที่อยู่ในวงแคบ ไม่ค่อยมีใครรู้จัก เหมือนกับให้สำนักพิมพ์ใหญ่จัดการ เนื่องจากมีเครือค่ายที่มากกว่า

4. Distributors or resellers: ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้จำหน่าย 
       เหล่านี้เป็นร้านหนังสือที่ขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พวกเขาจะนำเสนอแพลตฟอร์มสำหรับผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปหรือสิ่งพิมพ์สำหรับจัดพิมพ์ก่อนหน้านี้ที่จะใช้สำหรับขายเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และจะให้เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งแก่ผู้เขียน (20-30%) ของค่าสิทธินั้น โดยที่พวกเขาจะไม่คิดค่าใช้จ่ายกับผู้เขียน


กระบวนการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
       การพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ มีการใช้คอมพิวเตอร์ในทุกขั้นตอนของกระบวนการพิมพ์ ตั้งแต่ การเตรียมต้นฉบับ การออกแบบตัวอักษร สร้างภาพประกอบ จัดรูปหน้า ฯลฯ แล้วเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดี-รอม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้บุคคลเดียวกันสามารถทำหน้าที่ในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการพิมพ์ได้


Trend - e-Publishing
- มีการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์
- ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารน้อยลง
- มีลักษณะเปิดกล้วงทุกคนสามารถเข้าถึงได้
- มีประโยชน์ต่อการวิจัยและนักวิจัย ให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น


Trends: eBooks Now Outnumber Games on the iPhone /March 2, 2010




US Trade Wholesale Electronic Book Sales /February 18, 2010


 (Institutional Repository : IR)คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบัน
           หมายถึง คลังเก็บทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล อันเป็นภูมิปัญญาของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีการจัดเก็บเป็นศูนย์รวม มีการสงวนรักษา และมีการจัดทำดัชนีที่ได้มาตรฐาน สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นได้  หรือกล่าวได้ว่า คลังเก็บสารสนเทศระดับสถาบันเป็นบริการหรือหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในการ จัดการและเผยแพร่งานในรูปแบบดิจิทัลอันเป็นผลงานหรือผลผลิตของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา หรือสมาชิกในประชาคมนั้น ๆ และผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกสามารถเข้าถึงได้  ซึ่งผลงานเหล่านั้น นอกจากจะเป็นรายงานที่กำลังดำเนินงาน  รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ แล้ว ยังหมายรวมถึงงานที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ (grey literature) ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในวัฒนธรรมของการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องยากที่บรรณารักษ์ที่จะรวบรวม จัดเก็บ และสงวนรักษาไว้อย่างเป็นระบบ เพราะฉะนั้น สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานวิจัย ควรตระหนักถึงคุณค่าของภูมิปัญญาหรือผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัยที่มีจำนวนมากขึ้น สมควรได้รับการจัดเก็บ และเผยแพร่ในรูปของดิจิทัล รวมทั้งการสงวนรักษาผลงานเหล่านั้นให้คงไว้ในระยะยาว (archiving) และถือเป็นบทบาทหลักของมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย ในการเผยแพร่ผลงานต่าง ๆ เหล่านี้ออกสู่โลกภายนอกให้เป็นที่ประจักษ์
(http://www.nstda.or.th/nstda-knowledge/484-institutional-repository: สวทช)


Repositories in context   คลังจัดเก็บ
  • เป็นการเพิ่มเติมจากสิ่งพิมพ์แบบดั้งเดิม
  • ไม่มีผลต่อกระบวนการการวิจัยสิ่งพิมพ์ในปัจจุบัน
  • ช่วยให้เข้าถึงได้ง่าย
  • ช่วยให้การเข้าถึงอย่างรวดเร็ว
  • ช่วยให้เข้าถึงได้ในระยะยาว
  • จำนวนผู้อ่านและการใช้วัสดุเพิ่มขึ้น
  • มีบริการเสริม
     - การนับสถิติการเข้าใช้
     - รายชื่อสิ่งพิมพ์ที่กำหนดเอง
    - การวิเคราะห์การอ้างอิงในเนื้อหา มีการนำเนื้อหาไปใช้ในการอ้างอิง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น