ดัชนีวิเคราะห์คุณภาพผลงานวิชาการ
Impact Factor
เป็นการวัดค่าความถี่ของการอ้างอิงบทความวารสารในแต่ละปี ซึ่งก็คือความถี่ที่บทความในวารสารนั้นได้รับการอ้างอิง หรือถูกนำไปใช้
ค่า Impact Factor เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการประเมินคุณภาพเปรียบเทียบและจัดอันดับวารสาร ช่วยประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการจัดหาและบอกรับวารสารของห้องสมุด ใช้ประเมินคุณภาพของสถาบันการศึกษา เนื่องจากค่า Impact Factor สามารถใช้ในการบ่งบอกถึง คุณภาพของบทความวิจัยที่ตีพิมพ์โดยนักวิจัยในสถาบันต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
ค่า Impact Factor และอันดับของวารสารมักมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนการอ้างอิงในแต่ละปีด้วย การใช้ค่า Impact Factor กับการประเมินคุณภาพนักวิจัย หรือผลงานวิจัยนั้นเพียงค่าเดียวอาจไม่สามารถตัดสินได้ จึงควรพิจารณาเกณฑ์อื่นควบคู่ไปด้วย เช่น จำนวนครั้งที่แต่ละบทความได้รับการอ้างอิงจากบทความอื่น (Citation Frequency) เป็นต้น เพราะการที่มีการตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Impact Factor สูงๆ ไม่ได้หมายความว่าบทความนั้นจะได้รับการอ้างอิงสูงไปด้วย เช่นเดียวกัน บทความที่ได้รับการอ้างอิงสูงก็อาจตีพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Impact Factor ต่ำก็ได้ หรือบทความที่อยู่ในวารสารที่มีค่า Impact Factor สูง ก็ไม่ได้หมายความว่าบทความนั้นมีการอ้างอิงมาก ค่าที่สูงอาจมาจากบทความอื่นๆในวารสารนั้นก็เป็นได้
Referenced from: http://www.docstoc.com
แสดงค่า h-indexของ 6 ประเทศกลุ่มอาเซียน ของปี2009
Referenced from: http://www.stks.or.th (สวทช)h-index
เป็นค่าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการอ้างถึง(Citation) กับลำดับความนิยมของบทความที่ถูกอ้างถึง ค่า h-index จะวัดจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ และการอ้างอิงของบทความเหล่านั้น จำนวนบทความมากก็จะมีค่า h-index สูง จะต้องมีบทความที่ได้รับการอ้างอิงสูงด้วย
เป็นค่าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนการอ้างถึง(Citation) กับลำดับความนิยมของบทความที่ถูกอ้างถึง ค่า h-index จะวัดจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ และการอ้างอิงของบทความเหล่านั้น จำนวนบทความมากก็จะมีค่า h-index สูง จะต้องมีบทความที่ได้รับการอ้างอิงสูงด้วย
ตัวอย่างเช่น นักวิจัยท่านหนึ่ง มีค่า h index = 17 หมายความว่า นักวิจัยท่านนั้น มีผลงานวิจัยจำนวน 17 บทความ (จากจำนวนทั้งหมด) ที่ได้รับการอ้างอิง 17 ครั้งหรือมากกว่า
Citation Frequency
หมายถึงจำนวนครั้งที่บทความแต่ละบทความได้รับการอ้างอิง ซึ่งมีผลโดยตรงกับคุณภาพนักวิจัย แสดงให้เห็นว่าบทความหรือผลงานของนักวิจัยท่านนั้น ได้ถูกนำไปใช้อ้างอิงถึงมากน้อยเพียงใด
Journal Immediacy Index
เป็นดัชนีเปรียบเทียบความเร็วที่บทความของวารสารนั้นถูกอ้างอิงถึง (A measure of how quickly the “average article” in a particular journal is cited) แต่มีข้อสังเกตว่า วารสารที่ตีพิมพ์ตอนต้นปี จะได้เปรียบวารสารที่ตีพิมพ์ตอนปลายปี และวารสารที่ออกรายสัปดาห์ หรือรายเดือน จะได้เปรียบวารสารที่ออกราย 3 เดือน หรือราย 6 เดือน
Video บรรยายพิเศษ เรื่อง Impact factor
ลิขสิทธ์
เหตุผลพื้นฐานที่กฎหมายให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ก็เพราะว่าผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้นมา โดยการสร้างสรรค์นั้นต้องใช้สติปัญญาและความสามารถ ผู้สร้างสรรค์จึงต้องได้รับความคุ้มครองจากการที่บุคคลอื่นจะนำงานนั้นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะหากไม่ให้ความคุ้มครองเสียแล้วย่อมทำให้ไม่มีแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานใหม่ๆ
จากเหตุผลข้างต้น ผู้เขียนหนังสือ/บทความ ข้อเขียน ซึ่งสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะวรรณกรรม จึงเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในหนังสือหรือตำรา ข้อเขียน ที่แต่งหรือเรียบเรียงขึ้นนั้น บุคคลใดทำซ้ำ ดัดแปลง เอกสารที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์มีความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา
กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย
กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย เป็นกฎหมายที่ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2537 กำหนดงานที่ได้รับความคุ้มครอง อันได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภท วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2537)
ขอบเขตคุ้มครองงานสร้างสรรค์
1.ทำซ้ำหรือดัดแปลง
2.เผยแพร่ต่อสาธารณชน
3.ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
4.ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
5.อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้น โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ก็ได้ แต่
เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการ แข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้
ระยะเวลาที่ให้ความคุ้มครอง
เดิม 50 ปี ปัจจุบัน 70 ปี ต่ำสุด สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับผลงานองค์กร คุ้มครองระยะเวลาได้ถึง 120 ปี เนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนอายุการคุ้มครองเพิ่มขึ้น เพราะมีกฏหมายปี 1998 Sonny Bono Copyright Term Extension Act (CTEA) ได้เพิ่มอายุคุ้มครองจาก 50 ปี เป็นอีก 20 ปี
การให้บริการของห้องสมุด
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตราที่ 34 ที่ว่าด้วย การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ ไม่ได้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แล้วแต่ก็ควรคำนึงถึงหลักการใช้บนหลักของการใช้งานโดยธรรม (Fair Use)
ลิขสิทธิ์โดยธรรม ห้องสมุด 2537
หลักการใช้งานลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมด้วยการทำซ้ำ โดยบรรณารักษ์ของห้องสมุด ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร ในกรณีดังต่อไปนี้
1) การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น
2) การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา
1. คุ้มครองเจ้าของสิทธิให้สามารถควบคุมการใช้ข้อมูลดิจิตอลที่ตนครองสิทธิอยู่
2. การควบคุม digital files บน single computer ส่วนตัว
3. ทำได้โดยไม่ละเมิด “Privacy Privacy”
4. โอนไฟล์ให้เพื่อนได้ตามสิทธิ First sale แต่เครื่องของเพื่อนเปิดไฟล์ไม่ได้
5. ควบคุมให้ทำสำเนา พิมพ์ หรือดาวน์โหลด
6. การทำสำเนาบางส่วนเพื่อใช้ในห้องเรียนตามหลัก Fair use จึงทำไม่ได้ต้องยกเครื่องคอมพิวเตอร์ ของตนไปเปิดใช้เท่านั้น
การคลิกยอมรับเงื่อนไขการใช้ก่อนจึงจะเปิดไฟล์ดิจิตอลที่ซื้อได้
- ถ้าเงื่อนไขระบุว่าห้ามผู้ซื้อทำสำเนาไม่ว่ากรณีใดๆ
หลัก Fair use เป็นอันหมดไป
- ถ้าเงื่อนไขระบุว่าห้ามผู้ซื้อโอนสิทธินั้นไปให้บุคคลที่สาม
สิทธิของ First sale เป็นอันหมดไป
- บางข้อตกลงระบุห้ามไม่ให้ตีพิมพ์บทวิจารณ์ผลการใช้ซอฟท์แวร์หากไม่ไบาได้ด้อนุญาตจากผู้ขาย เป็นความตกลงยินยอมระหว่างคู่สัญญา
1. สำนักพิมพ์เลือกที่จะผลิตวารสารวิชาการในรูปอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น มากขึ้น
2. มีการควบซื้อกิจการ สารสนเทศทางวิชาการอยู่ในมือเจ้าของไม่กี่ราย
3. ราคาสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง และหนังสือสูงขึ้นมาก
4. หากหยุดต่ออายุจะเข้าใช้วารสารที่เคยบอกรับไม่ได้เลย
5. ย้ายสำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์หยุดดำเนินการ ขาดความมั่นคงในสิทธิเข้าใช้
1. การลดจำนวนบอกรับวารสารวิชาการมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อนักการ ศึกษาวิจัย
2. มีผลกระทบต่อบุคคลทั่วไปด้วยแม้มิใช่นักวิชาการ
3. การใช้ e-Book มีปัญหาเดียวกันถ้าไม่สามารถเข้าใช้ได้ตลอดไป
4. ปัญหาการถูกบังคับให้ต้องซื้อหรือบอกรับเป็น PackagePackage
5. ปัญหาในข้อจำกัดการเข้าใช้ e-Book เล่มที่ได้รับความนิยม
- หนังสือ : หนึ่งบท
- นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ : หนึ่งบทความ (ยกเว้นมีหลายบทความที่มีเรื่องราวเกี่ยวเนื่องกัน)
- เรื่องราวสั้น, ความเรียงสั้น ๆ , บทกวีสั้น : หนึ่งเรื่อง
- แผนภูมิกราฟ, แผนภาพ, ภาพวาด, การ์ตูนหรือภาพจากหนังสือ : หนึ่งรูป
- สื่อภาพเคลื่อนไหว : 10% หรือ 3 นาทีแล้วแต่อันไหนจะน้อยกว่า
- Text: 10% หรือ 1,000 คำแล้วแต่อันไหนจะน้อยกว่า
- เพลงวิดีโอเพลง : -- 10% แต่ไม่เกิน 30 วินาที
- ภาพประกอบและรูปถ่าย : ไม่เกิน 5 ภาพโดยศิลปิน
ไม่เกิน 10% หรือ 15 ภาพจากหนึ่งสำนักพิมพ์
- ฐานข้อมูลหรือตารางข้อมูล : 10% หรือ 2,500 รายการ- บันทึกวิดีโอออกจากอากาศในห้องเรียน : อาจจะถูกเก็บไว้สำหรับ 45 วัน อาจจะแสดงเฉพาะภายใน 10 วันแรกหรือเพียงสองครั้งสำเนาซ้ำอาจจะทำถ้ามีการร้องขอโดยครูผู้สอนหลาย
หลักการใช้งานโดยธรรม (Fair use)
หลักการใช้งานโดยธรรมเป็นถ้อยคำในกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ การอนุญาตให้ ทำสำเนา งานที่มีลิขสิทธิ์ ในจำนวนจำกัด เพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิจัย การทำสำเนาเพื่อวัตถุประสงค์ใช้ในการวิจารณ์ รายงานข่าว ใช้ในการสอน (รวมถึงการทำสำเนาหลายชุดเพื่อใช้ในห้องเรียน) งานวิชาการ หรืองานวิจัย ไม่ถือว่าละเมิดต่อกฎหมายลิขสิทธิ์ และไม่ต้องขออนุญาต ดังที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 หมวดที่ 1 ส่วนที่ 6 ว่าด้วยข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ (ไชยยศ เหมะรัชตะ, 2541)
ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา “ Fair use”
1. ปัจจัยในการพิจารณาการใช้งานโดยธรรม หรือ Fair use ขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ประการ ดังนี้
2. พิจารณาวัตถุประสงค์ และลักษณะการใช้ จะต้องพิจารณาว่านำผลงานไปใช้ใช้เพื่อการค้าหรือ
เพื่อการศึกษาที่ไม่แสวงผลกำไร หรือไม่ หากนำไปใช้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า หรือแสวงหา
ผลกำไร จะไม่ถือว่าเป็นการใช้โดยธรรม
3. ลักษณะของผลงานที่สงวนลิขสิทธิ์ การใช้งานในบางลักษณะสามารถทำได้โดยไม่ต้องขอ
อนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะถือว่าเป็นการใช้งานโดยธรรม เช่น การใช้เพื่อการศึกษา การใช้
เพื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
4. ปริมาณส่วนที่ใช้เมื่อเทียบกับผลงานที่สงวนลิขสิทธิ์ผลงานนั้น กล่าวคือ การนำผลงานต่างๆมาใช้
เช่น การทำสำเนาผลงานจะต้องกำหนดปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนถึงสิทธิอัน
ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
5. ผลกระทบอันอาจจะมีต่อแนวโน้มของตลาดหรือมูลค่าของงานที่ได้รับ การสงวนลิขสิทธิ์ การ
พิจารณาถึงผลกระทบ
มาเรียนรู้แบบไม่เครียดกันจร้าา!!
Sing along to understand copyright and learn about your rights to fair use.
This is an enhanced podcast to educate folks on what copyright law and fair
อันนี้ค่อนข้างวิชาการหน่อยนะจร้า
วิดีโอสัมภาษณ์ Maggie Lange ทนายความและศาสตราจารย์ของธุรกิจดนตรี และการจัดการที่วิทยาลัยดนตรี Berklee เกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น